Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

กรณีเหยื่อผู้หญิงถูกฆ่าข่มขืน แล้วนสพ.ลงชื่อ-นามสกุลจริง ภาพถ่าย ถือว่า"ผิดจรรยาบรรณ"ไหมคับ?

สังเกตุหลายครั้งแล้ว ล่าสุดลงหน้า 1 นสพ.หัวสี ถ้าไม่ผิดจรรยาบรรณ มีความจำเป็นเพียงไร? ที่ต้องลงภาพถ่าย(สวยๆ) ตอนมีชีวิต ไม่มีการคาดตา ลงชื่อเล่นที่เพื่อนฝูงเรียก อ่านแล้วรู้สึก ทื่อ เบลอ ตื้น ถ้าเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว คงไม่รู้จะบรรยายอย่างไร

4 Answers

Rating
  • Favorite Answer

    เรียกความรู้สึกสูญเสียกลับไม่ได้ครับ ฟ้องร้องก็ต้องยอมความและได้รับการขอโทษผ่านสื่อสิ่งพิมพ์โดยศาลสั่งว่าต้องลงคอลัมภ์เล็กๆซีกล่างสุดหน้าคลาสสิคไฟล์ประมาณ2คูณ2นิ้วก๊ฉบับก็ว่าไป ในแง่ของจิตวิทยาผู้ที่เสพข่าวใดก็เพื่อสนองความต้องการจากสิ่งนั้นไม่ใช่การสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็นเหมือนที่พูดๆกัน สิ่งที่ต้องการสนองตนเองนั้นมันถูกกระตุ้นและสะสมมาจากสภาพสังคมที่รุนแรงจากสื่อเองสังคมเองเข้ามาเรื่อยๆและกลายเป็นเรื่องปรกติในการที่จะไปหยิบจับหัวสีสักเล่มที่มีคนตกเป็นเหยื่อมาอ่านโดยต้องการแค่รู้ว่าผู้เสียหายเป็นใคร?เป็นญาติหรือคนที่รู้จักหรือปล่าว?เท่านั้น...หยิบปุ๊บต้นใม้ถูกตัตปั๊ปเครื่องจักรผลิตกระดาษเดินเครื่องฝ่ายข่าวส่งข่าวทันทีนี้แหล่ะคือจรรยาบรรณของการเลี้ยงชีพและบริษัทจริงๆ เราคงหามันไม่ได้จากการหยิบยื่นให่คนอื่นครับ

    ผมเองก็ไม่โทษผู้อื่นครับถ้าผมไปหยิบหัวสีพวกนี้หรือตอนเด็กผมแอบอ่าน191ของผู้ปกครองครับ

    เพราะจรรยาบรรณในการซื้อสื่อสิ่งพิมพ์ของผมด้อยครับ

    นะครับอย่าไปคิดมากกับพวกเค้าหรือถามหาจรรยาบรรณกับพวกพี่ๆเค้าครับ

  • 1 decade ago

    การรายงานข่าวที่เป็นเรื่องจริงไม่ผิดกฏหมาย แต่การนำภาพที่ไม่น่าดูมานำเสนอ ในแง่มุมที่ไม่เหมาะสมเพียงเพราะต้องการยอดขาย เรียกว่าผิดจรรยาบรรณ

    หนังสือพิมพ์หัวสีในเมืองไทย ไม่เคยรู้จักคำๆ นี้ ตั้งแต่สมัยดิฉันยังเด็กๆ แล้ว ไม่เคยเปลี่ยน..............

  • 1 decade ago

    การการะทำเช่นนี้ของนสพ. เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายของบางประเทศเชียวละครับ

    แต่ประเทศเราอาจจะเจริญทางด้านจิตใจมากกว่าประเทศทางยุโรป(..มั๊ง...) จึงไม่มีกฏหมายรองรับ หรือมี แต่มิได้รับนำมาปฏิบัติต่อสื่อ เพื่อปกป้องประชาชนมิให้เกิดการละเมิด

    เมื่อไม่มีกฏหมายมากดหัว พวกนสพ.ไทย ก็สร้า่งกฏฯมาควบคุมพวกเดียวกันเอง โดยใช้คำที่สวยหรู เรียกให้ดูดีว่า "จรรยาบรรณ" ซึ่งคำแปลนี้น่าจะหมายถึง

    "สำนึก"

    แล้วพวกเขามีสำนึกกันมากมายขนาดไหน? ก็ขอให้พวกเราตัดสินกันเอง

    สำหรับผม หนังสือพิมพ์-สื่อหลายๆแขนงและหลายๆสาขา

    "ขาดสำนึกพื้นฐาน" ครับ

    อาจจะหมายไปไกลถึงท่านอาจารย์ผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย ที่สอนตามสถาบันศึกษาต่างๆบางท่านด้วย

    ผมเก็บข้อมูลจากคำบอกเล่าของนักศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องด้านการทำสื่ิอและโฆษณา-มิได้หาข้อมูลแบบเป็นระบบ จึงอาจจะคลาดเคลื่อน และมันเป็นแค่เป็นความรู้สึกของคนเสพสื่อคนหนึ่งเท่านั้น..ขอบคุณครับ

    .

  • ในกรณีนี้ดิฉันเห็นว่าญาติคงอนุญาตหนังสือพิมพ์จึงลงทั้งชื่อและรูปถ่าย อย่างนี้รู้เห็นยินยอม ไม่ผิดจรรยาบรรณ และถ้าคนตายไม่ยินยอมก็คงต้องหาทางจัดการกับหนà��±à¸‡à¸ªà¸·à¸­à¸žà¸´à¸¡à¸žà¹Œà¹€à¸­à¸²à¹€à¸­à¸‡à¸„่ะ

Still have questions? Get your answers by asking now.