Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.
Trending News
1 Answer
- เอกLv 71 decade agoFavorite Answer
ดร.วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี แนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงดูที่เลี่ยงพฤติกรรมการเอาแต่ใจของเด็กไว้ ดังนี้
* 1. เสริมสร้างกำลังใจ
ทุกครั้งที่เขาแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก เพื่อเรียกร้องให้คุณพ่อคุณแม่ตามใจ เช่น ลงไปชักดิ้นชักงอ ประท้วง พ่อแม่ก็ควรจะอธิบาย ไม่ว่าเขาจะเข้าใจหรือไม่ก็ให้อธิบายความจริงด้วยเหตุผลจะดีกว่า อาจให้ดูตัวอย่างก็ได้ว่าทำแบบนี้ส่งผลเสียอย่างไร และในครั้งหน้าเมื่อลูกไม่ทำอย่างนี้อีกแต่เปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้แล้วก็อย่าลืมชื่นชม เขาก็จะรู้เองว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี ทั้งยังมีความสุขด้วยที่เขาสามารถทำอย่างที่พ่อแ���่ต้องการได้สำเร็จ การที่พ่อแม่แสดงความสนใจ ภูมิใจ หรือพอใจในสิ่งที่เขาทำได้ดีจะเป็นการสร้างความรู้สึกปลื้มใจให้กับเขามาก เขาจะเรียนรู้ว่าการทำแบบนี้เป็นสิ่งที่ดี ทำแล้วพ่อแม่ชอบใจ เขาก็จะทำแบบนี้ต่อไปอีก
* 2. อย่าเสริมแรงแบบผิดๆ
บางครั้งการที่เจ้าตัวเล็กแสดงอาการเอาแต่ใจตัวเอง แล้วพ่อแม่ก็เสริมแรงโดยไม่รู้ตัว เช่น เวลาไปซื้อของแล้วเขาอยากได้ของเล่น พ่อแม่ไม่ซื้อให้เลยลงไปนอนดิ้นๆ อยู่กับพื้น พ่อแม่ก็อายเลยต้องซื้อให้ ทีนี้เขาก็เรียนรู้แล้วว่า คราวหน้า ถ้าเขาทำแบบนี้อีกก็ต้องได้อย่างที่เขาต้องการแน่นอน ถ้าเป็นเช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องไม่ยอมเขาดูบ้าง แต่ก็ไม่ใช่แสดงพฤติกรรมทางลบกับลูกนะ อาจไม่ต้องถึงขั้นตีแค่มองเฉยๆ ก็อาจช่วยได้ เพราะบางครั้งแม้แต่การดุว่าก็เป็นการเสริมแรงที่ผิดอย่างหนึ่ง เมื่อเขาเห็นว่าทำแล้วพ่อแม่สนใจเขาแม้จะเป็นการดุก็ตาม เขาก็จะคิดว่าดีเหมือนกันที่พ่อแม่สนใจเขาเดี๋ยวคราวหน้าก็ทำอีก
* 3. อย่าหักหาญน้ำใจ
เรื่องความรู้สึกเป็นเรื่องสำคัญมากเลย บางครั้งการทำลายน้ำใจลูกด้วยอารมณ์ จะทำให้เขารู้สึกว่าไม่พอใจและไม่อยากทำตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกทันที กลายเป็นแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมา เพราะเด็กเขาจะรู้สึกว่าการทำอะไรสักอย่างไปแล้วพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจ บังคับให้เขาทำสิ่งที่เขาไม่อยากทำ เขาก็เลยทำอย่างที่ตัวเข้าต้องการเสียเลย เพราะไม่เข้าใจกันนี่เอง
* 4. ทำให้ลูกแปลกใจดีกว่า
เด็กๆ เขามีการเรียนรู้ที่เร็วมาก เขาจะคาดเดาถูกหมดเลยว่าถ้าเขาทำอย่างนี้ แม่จะพูดว่าอย่างไร ถ้าในกรณีที่ลูกมีพฤติกรรมเอาแต่ใจมากแล้ว คุณแม่ลองมาสร้างความประหลาดใจให้ลูกดีกว่า เช่น เมื่อลูกดิ้นลงไปนอนกับพื้นเพราะแม่ขัดใจ คุณแม่ก็ลองทำอะไรที่ตรงข้ามกับที่เคยทำดู ลูกจะได้หยุดคิดว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งอาจช่วยลดพฤติกรรมนั้นลงได้ คุณแม่อาจบันทึกเอาไว้เลยว่า ถ้าลูกทำอย่างนี้ คุณแม่พูดว่าอะไร แล้วลูกทำพฤติกรรมอะไรต่อไป เมื่อลองสังเกตทบทวนแล้วเห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำเดิมทุกครั้ง คราวต่อไปคุณแม่อาจต้องเปลี่ยนวิธีแล้วละ
การเลือกดนตรีให้เหมาะกับอารมณ์เด็ก "เด็ก อารมณ์ร้อน หงุดหงิด ฉุนเฉียวโมโหง่าย"
ลักษณะดนตรี : เพลงที่เย็นๆ นุ่มๆ ฟังสบาย เปิดได้ทั้งวัน จะช่วยทำให้เด้กอารมณ์เย็นขึ้นได้
ซึ่งอาจเป็นเพลงบรรเลงที่มีจังหวะช้าๆ ทำนองเรียบๆ เช่น เพลงของ Beethoven
หรือเพลงไทยคลาสสิค