Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

การผ่าตัดสมอง เคยมีใครทำสำเร็จบ้างไหมครับ?

ถ้ามีคนทำได้ เราจะสร้างหุ่นยนต์ที่มีความคิดของมันเอง ได้หรือไม่ครับ?

2 Answers

Rating
  • 1 decade ago
    Favorite Answer

    เรื่องนี้ต้องค่อยๆอ่านหน่อยนะครับ รับรองว่าเป็นความรู้ใหม่ที่น้อยคนนักจะรู้แน่ๆ

    ถ้าการผ่าตัดสมองที่คุณว่าหมายถึงการรักษาโรคทางสมองทั่วๆไปล่ะก็ มีให้เห็นแน่นอนครับ

    แต่ถ้าหมายถึงการผ่าตัดเปลี่ยนสมองนั้น ผมยังไม่เคยได้รับข่าวนี้

    เว้นแต่ว่าถ้าเรื่องการผ่าตัดหัวในสิ่งมีชีวิตนั้น ผมเคยไปอ่านเจอตอนที่อยู่อคาเดมี่ในรัสเซีย

    ในปี 1950 มีการทดลองของหมอโซเวียตชื่อ Vladimir Demikhov ซึ่งชำนาญการปลูกถ่ายอวัยวะเป็นอย่างมาก

    Demikhov ได้ทดลองผ่าตัดเอาส่วนบน (รวมทั้งขาหน้า) ของสุนัขขนาดเล็กมาต่อเข้ากับเส้นเลือกบริเวณส่วนคอของสุนัขตัวโตกว่าเป็นผลสำเร็จ หรือที่รู้จักกันในวงกว้างว่า "Dogs of Demikhov" ที่สำคัญนะครับ เจ้าสุนัขสองหัวนี่มีชีวิตอยู่ได้นานถึง 29 วันหลังการผ่าตัด นับว่าเป็นการประสบผลสำเร็จของวงการวิทยาศาสตร์ทีเดียว

    ต่อมาในปี 1964 ทีมนักวิจัยที่โรงพยาบาล Cleveland ในสหรัฐฯ ไดทดลองแยกเอาสมองของลิง Rhesus และได้เก็บรักษาไว้นอกร่างกายได้นานถึง 18 ชั่วโมง ทำให้เห็นลู่ทางที่จะเก็บรักษาสมองไว้ได้ก่อนที่จะได้นำไปผ่าตัดสู่ลำตัวต่อไป

    อีกสองปีถัดมา ก็ได้มีการค้นพบวิธีใหม่ในการผ่าตัดเคลื่อนย้ายสมองของสัตว์ โดยพบว่าสมองที่จะใช้ผ่านั้นหากลดอุณหภูมิลงจนใกล้จุดเยือกแข็งก็จะสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 6 ชั่วโมง โดยไม่กระทบกระเทือนต่อการทำงานของสมองแต่อย่างใด

    ปี 1970 Dr.Robert White ได้ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มาก นั่นก็คือลิง Rhesus โดยตัดไปต่อยังร่างของลิงอีกตัวนึงที่ได้ผ่าเอาหัวออกไปแล้ว ผลการทดลองที่ได้น่าทึ่งมากครับ ก็คือเมื่อลิงตัวดังกล่าวฟื้นมาหลังการผ่าตัด มันแสดงอาการรู้สึกตัวเต็มที่และมีการตอบรับของระบบประสาทอย่างสมบูรณ์ และมีอายุหลังการผ่าตัดได้ถึง 8 วัน (นี่ก็ถือว่าสุดๆแล้วนะครับ)

    แต่ความรู้ทางวิท���าศาสตร์ในปัจจุบัน ถ้าจะเอามาประยุกต์ใช้กับมนุษย์ เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาทางด้านเทคนิคแต่อย่างใดเลย ทีไม่มีใครทำก็เพราะเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรมมากกว่า

    วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวมนุษย์นั้นอาจจะดัดแปลงเพียงเล็กน้อยจากวิธีการที่ใช้กับลิง Rhesus อันทีจริงอาจจะง่ายกว่าด้วยซ้ำเพราะว่าขนาดของหลอดเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆของมนุษย์มีขนาดใหญ่กว่า

    อีกทั้งศัลยแพทย์ก็ยังมีความคุ้นเคยกับระบบสรีระของมนุษย์ด้วย

    แต่น่าจะมีปัญหาใหญ่ๆอยู่ 2 อย่างที่อาจจะต้องคิดกันสักหน่อย

    1. เรื่องของร่างกายใหม่ที่อาจจะปฏิเสธศีรษะ (ในเรื่องของภูมิคุ้มกันหรือระบบต้านทาน)

    2. การที่สมองเราไวต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณออกซิเจน (ที่มากับกระแสเลือด) ดังนั้นตลอดการผ่าตัดจะต้องควบคุมให้มีการไหลของกระแสเลือดเป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดการติดขัดเป็นอันขาด

    ส่วนการที่เราจะสร้างหุ่นยนต์ที่มีความคิดของมันเองนั้น ผมไม่เถียงว่าเป็นไปไม่ได้ แต่มันยังไม่เป็นที่แพร่หลายต่างหาก ซึ่งผมว่าทุกวันที่ก็มีคนคิดค้นเรื่องนี้กันอยู่แล้วครับ

    แต่ยังไง หุ่นยนต์ที่มีความคิดของมันเอง จะต้องอยู่ในกฏของหุ่นยนต์ 3 ข้อที่เขียนโดย Isaac Asimov (3 Laws of Robotics)

    1. หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำร้ายมนุษย์

    2. หุ่นยนต์จะต้องฟังคำสั่งของมนุษย์ โดยที่ไม่ขัดกับการกระทำข้อแรก

    3. หุ่นยนต์จะต้องป้องกันตัวเอง โดยที่ไม่ขัดกับข้อแรกและข้อสอง

    สักวันผมว่าต้องมีหุ่นยนต์ไฮเทคแบบในหนังเรื่อ I, Robot ไม่ก็ Star Wars เกิดขึ้นเแน่ๆ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คงจะมากกว่าที่คิดกันแน่นอนครับ อย่างน้อยก็เรื่องของกฏหมายและความมั่นคง

    ลองไปหาการ์ตูนเรื่อง PLUTO มาอ่านกันครับ เรื่องนี้เนื้อหาค่อนข้างดีกว่าการ์ตูนทั่วไป ซึ่งนำเนื้อหามาจาก อ.Tezuka Ozamu (คนวาดเรื่อง Black Jack : หมอปีศาจ แล้วก็เจ้าหนูอะตอมครับ) แต่นำมาวาดใหม่โดย Naoki Urasawa (คนวาดเรื่อง Monster กับ 20th Century Boys)

    เนื้อเรื่องก็จะเกี่ยวกับการฆาตกรรมหุ่นยนต์ที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลก ทั้งหมด 7 ตัว และมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ด้วย ซึ่งตอนนี้ผมก็ยังติดตามอยู่ครับ

  • 6 years ago

    โรคใดที่สามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง?

    โรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ โรคหลอดเลือดทางสมองแตก โรคเนื้องอกในสมอง , ฝีในสมอง หรือการติดเชื้อในสมอง , อุบัติเหตุที่ทำให้สมองมีเลือดออก , บวมช้ำ

Still have questions? Get your answers by asking now.