Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

แบบไหนบาปกว่ากัน ระหว่างคนที่ทำผิดทั้งที่รู้ กับ คนที่ทำผิดโดยไม่รู้?

เคยเข้าใจว่า คนที่ทำผิดทั้งที่รู้ว่าผิดนั่นหล่ะบาปเต็ม ๆ เพราะเรามักได้ยินคำพูดที่ว่า

"คนไม่รู้ ถือว่าไม่ผิด" แต่ภายหลังอ่านเจอในหนังสือพระ ท่านเขียนว่า คนที่ท��ผิดโดยที่รู้ตัว

บาปน้อยกว่า เพราะเมื่อรู้ตัวยังมีโอกาสแก้ไขได้ แต่คนที่ทำผิดโดยไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำมันผิด

แบบนี้จะทำผิดไปเรื่อย ๆ บาปก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ไม่ทราบว่าเพื่อน ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรคะ

6 Answers

Rating
  • 1 decade ago
    Favorite Answer

    ถามได้ดีครับ เพราะวันนี้วันพระด้วย เรื่องนี้ผมไม่มีความคิดเห็น เพราะมีความรู้จริงๆมาตอบ และเป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นหลักความจริงที่เที่ยงแท้ จะรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ผิดทั้งนั้นครับ ในวินัยของพระ ก็มีหลายข้อที่บอกไว้ว่า จะรู้หรือไม่รู้ก็เป็นอาบัติ คีอผิดศีลน่ะ ที่คุณอ่านเจอ ที่พระท่านบอกคุณก็ถูก แต่ยังไม่ละเอียดพอ คุณจึงต้องมาถามอีก คนที่ทำผิดโดยไม่รู้น่าจะแยกเป็น 2 ประเภท 1 คนที่ทำผิดโดยไม่รู้แต่มีโอกาสรู้ กับ 2 คนที่ทำผิดโดยไม่รู้และไม่มีทาง ที่จะรู้ครับ

    1 คนประเภทนี้ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็พระองคุลีมาล ถูกเพื่อนอิจฉา แล้วไปหลอกอาจารย์ว่า องคุลีมาลจะฆ่าอาจารย์ๆกลัว ก็หลอกองคุลีมาลว่า ถ้าฆ่าคนได้ครบ 1000 คน อาจารย์จะสอน มนต์วิเศษให้ องคุลีมาลเป็นคนซื่อหลงเชื่ออาจารย์ เลยไปฆ่าคนได้ 999คน เหลืออีกคนเดียว วันนั้นเป็นวันที่องคุลีมาล จะต้องเดินทางไปฆ่าคนสุดท้าย บ้งเอิญว่าแม่ขององคุลีมาล จะเดินทางมาพบและ องคุลีมาลจะจำไม่ได้ เพราะไม่ได้เจอกันมานาน และกรรมช้่วบังตาด้วย แต่พระพุทธเจ้าท่านทรง ตรวจดูในข่ายพระญาณ ก็ทราบว่าวันนี้ องคุลีมาลจะฆ่าแม่จะบาปที่สุด คือทำอนันตริยกรรม ต้อ���ตกนรกอเวจี พระองค์จึงเสด็จมาโปรด จนองคุลีมาลออกบวช และไม่นานก็ บรรลุเป็นพระอรห้นต์

    2 คนประเถทนี้เป็นพวกที่ มืดบอด ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ หลงผิดรุนแรง ที่เรียกว่า มิจฉาทิษฐิ ใครจะสอนอะไรไม่เชื่อเลย แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ เป็นบัวใต้ตมใต้เลนจริงๆ ตัวอย่างเช่น พวกโจรก่อการร้ายที่ภาคใต้ หรือพวกเสื้อแดงที่ ฆ่าคนอน่างไม่รูสึกผิดเลย คนพวกนี้เป็นพวกที่บาปที่สุด ตายไปต้องไปตกนรกพิเศษ ที่เรียกว่า โลกันตนรก เป็นนรกที่แปลกคือมืดมิดถูกทรมาน ด้วยน้ำกรดเย็น สัตว์นรกจะมองไม่เห็นกัน เมื่อปีนต้นไม้ที่มีใบเป็นมีด แล้วมาเจอกันก็จะนึกว่า เป็นอาหารจะกัดกินกัน จนตกลงในสระน้ำกรดแล้วจะปีนขึนต้นไม้ใหม่ วนเวียนอยุ่อย่างนี้นาน ยิ่งกว่านรกอเวจีมาก ทรมาณกว่ามาก คนประเภทนี้บาปที่สุดครับ

    ส่วนคนประเภทรู้แล้วว่าผิดแต่ก็ยังทำบาปรองมาเป็นอันดับ 2 เพราะทำบ่อยเข้าจะ เป็นนิสัย และเป็นสันดานเมื่อทำต่อกัน หลายๆชาติครับ

    ส่วนคนอย่างที่ทำผิด โดยไม่รู้แต่มีโอกาส กลับใจได้เพราะมีบุญเก่ามาก อย่างพระองคุลีมาล บาปน้อยกว่าเพราะท่าน กลับใจได้ครับ

    ถ้าคุณเคยอ่านเรื่องพระองคุลีมาล คุณคงเข้าใจ แต่ถัาไม่เคยอ่าน ขอแนะนำให้อ่านก็จะเข้าใจเอง ว่ามีคนแบบนี้ในโลก ที่จริงคนที่���ูัจัก บาปบุญคุณโทษ รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว ทุกคนอย่างเราๆ ท่านๆนี่จัดเป็น ประเภทที่ 1 ทุกคนครับ คือเป็น สัมมาทิษฐิ

    ลองอ่านดูนะครับ ถ้าสงสัยขอให้ไปถาม พระที่มีความรู้มากๆ เปรียญ 9 ประโยคยื่งดีครับ

    สรุปง่ายๆคีอพระท่านลีมคนประเภทที่ 1 ไปครับ

    Source(s): เรื่องนรก อ่านได้ในหนังสือ ไตรภูมิ ครับ ส่วนเรื่องอื่นๆ มาจาก ชาดก ในพระไตรปิฎกครับ
  • "คนไม่รู้ ย่อมไม่ผิด"

    คำพูดนี้ถูกต้องแล้วครับ

    เพียงแต่นิยามของคำพูดนี้หมายถึงกติกาที่เกิดจากสังคม

    ซึ่งกำหนดโดย " คน " และมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

    บางครั้งทำอย่างนี้ผิด แต่ต่อมาอาจแก้เป็นทำอย่างนี้ถูก

    ตามความเหมาะสมของสภาพสังคมนั้นๆ ซึ่งกติกาแบบนี้

    ต้องใช้การประกาศหรือให้ผู้ที่ต้องปฏิบัติตาม " รับรู้ "จึงมีผล

    เพราะฉนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า " ถ้าไม่รู้ย่อมไม่ผิด "

    แต่ในที่ยกมานั้น เป็นกติกาซึ่งเกิดเองโดยธรรมชาติ

    เป็นเหตุและผลในตัวมันเอง เช่น เด็กเล็กๆเอามือจับไฟ ด้วยความไม่รู้อันตรายของไฟ

    ก็จะได้รับอันตรายอย่างรุนแรงจากไฟนั้น เหตุเพราะความไม่รู้

    แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ซึ่งรู้อันตรายของไฟ

    เมื่อต้องจับไฟก็จะมีสิ่งป้องกัน แม้หากจะได้รับอันตรายบ้าง

    ก็จะมีเพียงเล็กน้อย นั่นเพราะผู้ใหญ่รู้จักอันตรายของไฟ

    เพราะเหตุที่ ถูก หรือ ผิด ในที่ท่านอธิบายไว้นั้น

    กำหนดโดยธรรมชาติ ไม่มีบุคคลรองรับ คือไม่มีใครคอยจับผิดเรา

    ไม่มีคนมาลงโทษเรา ไม่มีใครมาตามจับเราไปลงโทษ

    ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ ธรรมชาติไม่มีจิตใจ

    ไม่มีผิดหรือถูก รู้หรือไม่รู้เป็นความสามารถของสิ่งที่มีจิตใจ

    สิ่งที่มีจิตใจรับรู้ถึง ทุกข์และสุขได้

    เพราะฉนั้นสิ่งที่มีจิตใจจึงต้องเรียนรู้ธรรมชาติ

    เพื่อจะหลีกเลี่ยงธรรมชาติที่ทำให้เป็น ทุกข์

    ฉนั้นจึงเป็นที่มาของความหมายนั้น ยิ่งมีความรู้มากก็ยิ่งผิดน้อย ( มีโทษน้อย )

    ขอภัยเป็นอย่างสูงครับ ที่ต้องอธิบายยาวไปหน่อย

    เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนครับ หวังว่าคงจะช่วยได้บ้างนะครับ

    Source(s): *ขอความสุขและความหวังดีจงยั่งยืนในทุกดวงใจ*
  • Anonymous
    1 decade ago

    สาธุผมขอตอบการทำบาปก็คือบาปจะแปลเป็นบาทก็ไม่ได้ แต่การที่รู้ว่าไม่ดีแล้วทำจะด้วยเหตุการณ์ใดหรือยกเมฆมาอ้างยังงัยก็เจตนาทำบาปต้องตกนรกไม่ได้ขึ้นสวรรค์แน่นอน แต่เรามีจิตใจที่บริสุทธิ์แล้วเผลอไปทำบาปเข้าโดยไม่เจตนาเราก็มีเจ้ากรรมนายเวรบันทึกไว้เหมือนกัน ตายไปมีสิทธิ์ขึ้นสวรรค์ถ้าบวกลบคูณหารแล้วมีความดีมากกว่า ตอนนี้ผมก็คิดได้แค่นี้ ดึกแล้วสมองมันมึนครับ

    Source(s): แหล่งข้อมูลจากสมองที่นึกคิด ผิดหรือถูก ขอรับไว้เพียงผู้เดียว
  • 1 decade ago

    เห็นด้วยกับประสบการณ์ที่เพื่อนเล่ามา แต่เราว่าทำผิดทั้งที่รู้ บาปกว่านะ ถ้าเรารู้ว่าสิ่งใดผิด เราก็จะได้ไม่ทำ

    ลองอ่านเรื่องนี้ แล้วลองคิดตามดูนะคะ

    มีพี่น้องสองคน พี่ทำความดีมาตลอด น้องทำแต่ความชั่วมาตลอด แล้ววันนึง พี่คิดจะทำความชั่วบ้าง ส่วนน้องก็คิดจะท��¸³à¸„วามดีบ้าง ทั้งสองคิดดังนั้น ต่างคนต่างวิ่งออกมาจากห้องแล้วชนกันตกบันได ตาย! ทั้งคู่

    จึงขอถามว่า พี่กับน้อง ใคร?จะได้ขึ้นสวรรค์ ไม่รอช้าขอตอบเลยล่ะกัน

    ตอบว่า คนพี่ เพราะทั้งชีวิตของเขาก่อนตายได้ทำความดีมาตลอด ถึงแม้คิดจะทำชั่ว แต่ก็ไม่ทันได้ทำ เพราะมาตายซะก่อน

    ส่วนคนน้องไม่ได้ขึ้นสวรรค์ เพราะตลอดชีวิตของเขาทำความชั่วมาตลอด เพิ่งมาคิดทำความดี แต่ก็ยังไม่ได้ทำดีเลย น่าเสียดาย ดันมาตายซะก่อน

    เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า จงทำความดีเสียตั้งแต่ตอนนี้ และในขณะที่มีชีวิตอยู่ เพราะจะตายเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้

  • How do you think about the answers? You can sign in to vote the answer.
  • 1 decade ago

    หากเป็นในเหตุการณ์สมมุติหนึ่ง เช่น เหยียบแมลงสาปตาย

    คนที่ทำผิดทั้งที่รู้ คือ ตั้งใจเหยียบ

    นั่นคือ มีบาปทางกาย(เหยียบ) และทางความคิด(ตั้งใจเหยียบ)

    คนที่ทำผิดโดยไม่รู้ คือ เผลอเหยียบ

    นั่นคือ มีบาปทางกาย(เหยียบ) อาจจะไม่รู้หรือรู้ทีหลัง

    ซึ่งหากรู้ทีหลังแล้วคิดว่าดีสม นั่นคือ เห็นชอบกับการเหยียบ(บาป)

    หากรู้ทีหลังแล้วคิดว่าไม่น่าเลย ขอโทษนะ นั่นคือ ไม่เห็นชอบ

    การทำผิดทั้งที่รู้หรือไม่รู้ในเหตุการณ์หนึ่งจะเห็นว่า

    อย่างน้อยต้องมีกรรมเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ทาง(ความคิด,กระทำ,คำพูด)

    แบบไหนบาปกว่ากันหรือ?ในเหตุการณ์ปัจจุบันคนที่ทำผิดทั้งที่รู้บาปกว่า

    แต่หากเขารู้สึกตัวว่าสิ่งที่ทำมันบาป ก็จะแก้ไขปรับปรุงตัวได้เร็วกว่า

    คนที่ทำผิดโดยไม่รู้ตัวครับ(^-^)

  • suwatp
    Lv 5
    1 decade ago

    ถ้ายึดถือว่า บาป คือความเศร้าหมองที่เกิดจากการทำความชั่ว

    คนที่ไม่รู้ตัวว่า ได้ทำชั่วมาแล้ว ก็ย่อมไม่มีบาป และ

    คนที่ทำชั่วโดยรู้อยู่ว่าเป็นความชั่ว ย่อมมีบาป

Still have questions? Get your answers by asking now.