Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

สุขัลลิกานุโยค 4 ที่เป็นอริยะมีอะไรบ้าง?

สุขัลลิกานุโยค มี 2 ลักษณะ คือ ที่ไม่เป็นอริยะ (ฆ่าสัตว์ บำรุงตนให้อิ่มเอิบอยู่, ลักทรัพย์แล้วบำรุงตนให้อิ่มเอิบอยุ่, พูดเท็จแล้วบำรุงตนให้อิ่มเอิบอยู่, ปรนเปรอตนด้วยกามคุณ 5 ให้อิ่มเอิบอยู่) และสุขัลลิกานุโยคที่เป็นอริยะ

ขอตั้งคำถามว่า สุขัลลิกานุโยคที่เป็นอริยะ มีอะไรบ้าง และมีอานิสงส์อะไรค่ะ

Update:

มีพุทธพจน์ในปาสาทิกสูตรแสดงสุขัลลิกานุโยค 4 ที่สาวกพึงถืออยู่คือ "สุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน" (ขออภัยค่ะ ในพระสูตรนี้ไม่ได้ทรงใช้คำว่าอันเป็นอริยะ ไม่ทราบดิฉันไปจำคำนี้มาจากไหน)

คือ ความสุขที่เกิดจาก การบรรลุปฐมฌาน, บรรลุทุติยฌาน,บรรลุตติยฌาน และการบรรลุจตุตถฌาน

ซึ่งมีอานิสงส์คือ ทำให้เป็นอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

เนื่องจาก สัมมาสมาธิ นั้น หมายเอาฌาน 4 และเป็นสมาธิที่โน้มไปเพื่อการปล่อยวาง การสละ ละ คืน เป็นบาทฐานของปัญญา ดังนั้นจึงเป็นที่รู้กันว่า เมื่อเสพสุขที่ไม่มีเหยื่อล่อแล้ว ก็ไม่ติดใจในสุขนั้น แต่ใช้จิตขณะที่ควรแก่การใช้งานนั้น ไปทำงานทางปัญญาเพื่อให้เห็นธรรมต่อไป

งานวิปัสสนา (ปัญญา) คือบันไดขั้นต่อไปของงานทางจิต (สมาธิ) หลังจากที่มีวิถีชีวิตที่เป็นไปเพื่อความเป็นปรกติ (ศีล) เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว มีพุทธพจน์เกี่ยวกับการปฏิบ��ติเพื่อบรรลุโสดาบันดังนี้

“หากภิกษุพึงหวังว่า “เราพึงเป็นโสดาบัน” เพราะสังโยชน์ ๓ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอน ที่จะสำเร็จส

Update 2:

แน่นอน ที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า” ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง”

ม.มู. (แปล) ๑๒/๖๗/๕๘ – ๕๙

แสดงถึงความสัมพันธ์กันของศีล สมธิ ปัญญา และความเพียรได้เป็นอย่างดี

2 Answers

Rating
  • 1 decade ago
    Favorite Answer

    1. สุขัลลิกานุโยคที่เป็นอริยะมี 4 ระดับ คือ

    อริยะในระดับที่ 1 พระโสดาบัน

    อริยะในระดับที่ 2 พระสกิทาคามี

    อริยะในระดับที่ 3 พระอนาคามี

    อริยะในระดับที่ 4 พระอรหันต์

    2. มีอานิสงส์ 4 ประการ คือ

    อานิสงส์ระดับที่ 1 เป็นของพระโสดาบัน คือ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม ได้แก่ สักกายทิฏฐิ (ความสำคัญผิดคิดว่าร่างกายนี้เป็นของตน) วิจิกิจฉา (ความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจว่าพระศาสดาจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง) และสีลัพพตปรามาส (ความหลงงมงายในศีลพรต)

    อานิสงส์ระดับที่ 2 เป็นของพระสกิทาคามี คือ นอกจากจะสามารถละกิเลสทั้ง 3 อย่าง (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้หมดสิ้นแล้ว และยังสามารถทำโลภะ โทสะและโมหะบางส่วนให้จางลงได้อีก แต่ก็ยังอาลัยต่อโลกนี้เหลืออยู่บ้างเล็กน้อย หรือถ้าจะกลับมาสู่อารมณ์แบบปุถุชนอีกก็เพียงครั้งเดียว

    อานิสงส์ระดับที่ 3 เป็นของพระอนาคามี คือ นอกจากจะละกิเลสอย่าง สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส โลภะ โทสะ และโมหะ ได้แล้ว ยังละ กามราคะ (ของรักใคร่ที่พระโสดาบันและพระสกิทาคามีละไม่หมด) ปฏิฆะ (ความรู้สึกโกรธ ขัดเคืองใจ หงุดหงิด รำคาญ) ได้อีกด้วย

    อานิสงส์ร��ดับที่ 4 เป็นของพระอรหันต์ คือ นอกจากละกิเลสทั้ง 5 ขั้นต้นอย่าง สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และปฏิฆะ ได้หมดแล้ว ยังละกิเลสขั้นปลายอีก 5 ประการ ลงได้อย่างหมดสิ้น คือ รูปราคะ (ความพอใจในความสงบสุขเยือกเย็นที่เกิดจากการกำหนดสิ่งที่มีรูป เช่น นิมิตต่าง ๆ มาเป็นอารมณ์สำหรับเพ่ง) อรูปราคะ (ความพอใจในความสงบเงียบสุขุมที่เกิดจากการกำหนดสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ความว่างเปล่ามาเป็นอารมณ์สำหรับเพ่ง) มานะ (ความรู้สึกสำคัญตนว่าดีกว่า เลวกว่า ซึ่งเป็นเหตุให้จิตใจหวั่นไหวอยู่บ้าง เพราะยังไม่ได้อยู่เหนือความดีและความชั่ว) อุทธัจจะ (ความไม่สงบนิ่งของจิตใจ เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบทำให้เกิดความทึ่งทั้งในแง่ดีและในแง่ร้าย) และ อวิชชา (ความรู้ที่ทำให้คนเราสำคัญผิด เห็นธรรมะที่ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ว่าเที่ยงและเป็นสุข)

  • 1 decade ago

    มีอานิสงส์สี่คือ

    อานิสงส์ที่ 1 เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า

    อานิสงส์ที่ 2 .ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

    อานิสงส์ที่ 3 ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง เป็นโอปปาติกะ(อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

    อานิสงส์ที่ 4 กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่

    Source(s): ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ www.pobbudha.com
Still have questions? Get your answers by asking now.