Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

siam ทำไมถึงอ่านว่า สยาม?

France ทำไมกลายเป็น ฝรั่งเศษ Japan ทำไมกลายเป็น ญี่ปุ่น

Update:

ขอบคุณครับ คุณ E-strit -ข้าพระเจ้าหารูป shrek ไม่เจออะดิถ้ามีขอหน่อยนะ

7 Answers

Rating
  • Favorite Answer

    คุณไม่ได้หมายถึงคำอ่านใช่มั้ยคะ เพราะเป็นการอ่านออกเสียงก็คงอ่านออกเสียงตามที่คุณe-strit ตอบ เข้าใจว่าคุณคงตั้งใจถามว่า ทำไมตัวเขียนคำเหล่านี้สะกดแบบนี้ คนไทยถึงออกเสียงเรียกชื่อเหล่านี้เป็นเสียงอื่นไปได้

    หลักเกณฑ์การออกเสียงกว้าง ๆ (จากตัวอย่างคำที่คุณยกมา)สรุปว่า หากไม้มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้ใหม่

    ๑. เราจะออกเสียงตามสะดวก เช่น ฝรั่งเศส นั้น เข้ามติดต่อกับไทยสมัยอยุธยาแล้ว มีมพันธไมตรีทางการทูตและการค้ากับไทย มีการใช้ทูตและล่ามในการติดต่อ ฝรั่งเศส เรียกประเทศตัวเองว่า ฟร็องเซ่ ซึ่ง ไม่คุ้นลิ้นคนไทย ไม่สะดวกในการออกเสียง จึงกลายเป็น ฝรั่งเศสไป

    ๒.ออกเสียงตามความเคยชินหรืออกเสียงตามการเรียกของชาติอื่น กรณีนี้จากตัวอย่างที่คุณยกมาคือ "ญี่ปุ่น" เข้าใจว่าไทยน่าจะเรียกตามการออกเสียงของคนจีนนะคะ คำว่า 日本 จีนแต้จิ๋วออกเสียงเป็น ยิกเปิ่น จีนกลางออกเสียงเป็น รื่อ เปิ่น[ri pen]

    ๓.ออกเสียงทับศัพท์

    ส่วน SIAM ทำไมถึงออกเสียงเป็นสยาม อันนี้ต้องไปถามฝรั่งค่ะ ว่าฟังอีท่าไหน ถึงฟังคำว่าสยาม แล้วเอาไปเขียนเป็นSIAM ไปได้

    เว็บที่มีรูปชเร็ค แถม ๆ ๆ ค่ะ

    http://ibaraki.wordpress.com/2007/06/08/sherk-the-...

    http://moviedd.exteen.com/20070419/movie-preview-s...

  • ?
    Lv 6
    1 decade ago

    ใครบอกว่าอ่านว่าสยาม อ่านว่าไซแอมจ้ะ

    เอฟอาเอเอ็นซีอี อ่านว่า ฟรานซ

    เจเอพีเอเอ็นอ่านว่า ชะแพน

    ส่วนคำว่า สยาม ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เป็นเอกลักษณ์การออกเสียงที่แสดงความเป็นไทย ผสมกลมกลืนไปกับประโยคภาษาไทยได้ดีกว่าที่จะพูดว่า ประเทศไทยกับฟรานซ์มีขนาดใกล้เคียงกัน (ถ้าลองพูดออกเสียงดู จะฟังแล้วกระแดะบอกไม่ถูก หรือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ชะแพนเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีให้คนทั้งโลกหันมาทบทวนการใช้ชีวิตประจำวันกันใหม่ (เหมือนกัน มันฟังดูสะดุดหูในทางไม่น่าฟัง)

    เหมือนสยามกัมมาจล ที่มาจาก สยามคอมเมิชเชียล อังรีดูนังต์ ที่มาจาก เฮนรี ดูนองต์

    แล้วถ้าจะคิดเปลี่ยนการสะกดภาษาอังกฤษให้พ้องกับการออกเสียงประเทศสยามแล้ว ให้เป็น Sayam ก็ดูยังไงไม่รู้นะ สู้ Siam ไม่ได้ ดูศิวิไลซ์และมีอารยธรรมกว่าเยอะเลย ว่ามะ

    เอ... ว่าแต่คนถามเถอะ ทำไมติดรูปคุณด๊องกี้ แต่ใส่ชื่อเป็นเชร็คไปซะหล่ะ

  • 1 decade ago

    ลองหลับตา ระลึกภาพในประวัติศาสตร์ ย้อนไปในสมัยที่ชนชาติไทยเริ่มมีสัมพันธ์ คบค้าสมาคมกับต่างชาิติ

    เอาละ.....

    1. คำว่า siam ( ไซ - แอม ) กับ สยาม ( สะ - หยาม ) คำไหนน่าจะเกิดก่อนกัน ลองคิดสรุปดูแล้ว น่าจะเป็นสยาม เมื่อไปติดต่อกับชาวต่างชาติจึงกำเนิดศัพท์ siam ขึ้นไว้ใช้เรียกชาวสยาม

    2. คำว่า france กับ ฝรั่งเศษ คำไหนน่าจะเกิดก่อนกัน ลองคิดสรุปดูแล้ว น่าจะเป็น france เมื่อมีชาว france มาติดต่อกับชาวสยาม จึงกำเนิดศัพท์คำว่า ฝรั่ง ( น่าจะเพี้ยนเสียงมาจาก france ) ไว้เรียกชาวต่างชาติเหล่านี้ และสันนิษฐานได้อีกว่า ในสมัยก่อนนั้น ชาวต่างชาคิที่ที่มาติดต่อคบหากับชาวสยาม น่าจะเป็นพวกผิวขาว คนไทยเลยเหมารวมว่าคนต่างชาติผิวขาวคือพวก "ฝรั่ง" ส่วนคำว่าฝรั่งเศษน่าจะเกิดจากพวกที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ไทย แสดงภูมิรู้ว่า franec น่าจะออกเสียงว่า ฟราน - เซ่ จึงบัญญัติศัพท์ไทยขึ้นไว้ว่า ฝรั่งเศษ

    3. คำว่า japan ( แย - แปน ) กับ ญี่ปุ่น น่าจะมีที่มาคล้าย ๆ กับข้อ 2 พวกที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ไทย ก็เลยแสดงภูมิรู้ บัญญัติศัพท์ไทยขึ้นไว้ว่า ญี่ปุ่น

    เหล่านี้เป็นผลจาการหลับตา แล้วลองนึกภาพไปในประวัติศาสตร์ ลองคิดตามดู หรือเห็นอะไรอย่างอื่น บอกด้วย

    Source(s): จินตนาการล้วน ๆ
  • 1 decade ago

    สมัยก่อนอาจจะการสื่อสารและการได้รับทราบผิดเพี้ยนกันไป จากคนไทยที่ทำอะไรเราเข้าใจก็พอแล้วเลยไปมันเรื่อยๆไง

  • How do you think about the answers? You can sign in to vote the answer.
  • KK
    Lv 4
    1 decade ago

    ในยุคโบราณ ภาษาบาลีเป็นภาษาต่างประเทศที่นักศึกษาจะต้องเรียนเป็นภาษาเอก ในยุค พ.ศ. ๑๙๐๐ ลงมาศูนย์กลางของภาษาบาลีในยุคโบราณคือ ลังกา ภิกษ��¸¸à¹„ทย-มอญ-พม่าล้วนไปศึกษาธรรมวินัยจากที่นั่นจนเกิดนิกายพุทธศาสนาที่ เป็นแบบลังกาขึ้นในบริเวณมอญ-พม่า-ไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๖๐๐

    วงการภาษา บาลีของลังกานั้น เรียกเมืองไทยว่า สฺยาม หรือ สาม การติดต่อระหว่างไทยกับลังกาในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อคราวที่ไทยส่งพระ อุบาลีออกไปตั้งนิกายสยามวงศ์ เมื่อพ.ศ. ๒๒๙๕ นั้น สาส์นติดต่อซึ่งเขียนเป็นภาษาบาลีทั้งสองฝ่ายก็ใช้คำ สยาม และสาม ระคนกัน

    ใน สมัยสุโขทัย มีภิกษุสงฆ์ของไทยทั้งในล้านนาและสุโขทัยไปศึกาพระธรรมวินัยในลังกามาก เป็นต้นว่าทางสุโขทัยก็มีพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณีศรีรัตนลังกาทวีป หลานของพ่อขุนผาเมือง ทำให้เข้าใจว่าวงการบาลีของลังกาจะได้เรียกคนไทยว่า สาม-สยาม มาแล้วแต่ครั้งนั้น หรือแม้ก่อนหน้านั้น

    ภาษาบาลีนั้นเป็น ภาษาต่างประเทศ เมื่อวงการพุทธศาสนาไทยใช้ภาษาบาลี การจะพูดถึงเมืองไทยก็ย่อมต้องใช้คำของบาลีที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไปทั้งในลังกาและที่อื่น จึงเชื่อว่าพวกนักปราชญ์ภาษาบาลีของเมืองไทย, ทั้งล้านนาและสุโขทัย, น่าจะรับเอาคำ สยาม หรือ สาม มาจากบาลีลังกาอีกทอดหนึ่งมากกว่าจะคิดขึ้นเองในประเทศนี้

    Source(s): BY คุณพี
  • 1 decade ago

    que es esto ? donde estoy y donde me abeis metido ayuda!

  • Anonymous
    1 decade ago

    ไม่น่าถาม

Still have questions? Get your answers by asking now.