Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

สติปัฏฐาน 4 ในชีวิตประจำวัน 2 ระดับ?

การฝึกสติปัฏฐาน 4 ในอิริยาบทต่างๆ มี 2 ระดับคือ ระดับโลกิยะ และ ระดับ โลกุตตระ

ฝึกอย่างไร ก็ได้ผลตามนั้น มีรายละเอียดอยู่ที่นี่ อยากเชิญไปชมค่ะ

ตอนที่ 1 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/475522

ตอนที่ 2 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/475571

Update:

ขอบคุณทุกคำตอบมากค่ะ

Update 2:

" ไม่รู้สติปัฏฐาน 4 ตามความเป็นจริง หมายถึง ไม่รู้ว่า สติปัฏฐานอย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหนเป็นดลกุตตระ เมื่อไม่รู้ ก็จะน้อมญาณของตนเข้าไปในฐานที่ละเอียด แล้วปักใจอยู่ในสติปัฏฐานที่เป็นโลกิยะเท่านั้น จึงไม่สามารถให้สติปัฏฐานส่วนที่เป็นโลกุตตระเกิดขึ้นได้"

องฺ.เอกาทส.อ. ๓/๑๗/๓๙๕

9 Answers

Rating
  • on-ces
    Lv 5
    9 years ago
    Favorite Answer

    สั้น กระชับ เข้าใจง่าย

    สาธุค่ะ ตรงกันทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ -/\-

    คุณauntySallyทำอานาปานสติหรือคะ ^_^

    อนุโมทนาค่า

    ขอเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านค่ะ

    การทำสติปัฏฐานนั้นแม้จะเป็นในระดับโลกิยะ

    ก็เป็นผลให้ผู้ปฏิบัติยอมรับความจริงเมื่อเห็นไตรลักษณ์

    แต่การยอมรับความจริงนั้นยังไม่ขาด เมื่อเลิกปฏิบัติหรือตายไป

    จิตใจก็ยังหลงผิดได้ไม่ต่างจากคนอื่นๆที่ไม่เคยปฏิบัติ

    เพียงแต่ว่าปัญญาที่สั่งสมไว้ในใจนั้น

    จะทำให้สติเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจในช่วงต้นของชาติใหม่บ้าง

    และเมื่อได้ปฏิบัติใหม่ เวลาเริ่มต้นก็จะเริ่มไม่ต่างจากคนอื่น

    เพียงแต่ว่าเมื่อเห็นสภาวะไม่เทียง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนในรูปนามแล้ว

    ใจจะยอมรับความจริงได้ไวกว่าคนที่เคยทำมาน้อยกว่าค่ะ

    ดังนั้นผู้ปฏิบัติบางท่านจึงทำได้ช้าเร็วต่างกัน

    เช่น บางคนเห็นว่ากุศลอกุศลเกิดขึ้นเอง เราอยากให้กุศลอยู่นานเราก็บังคับไม่ได้

    เกิดขึ้นแล้วจะไม่ให้ดับไปก็ทำไม่ได้ เห็นว่าบังคับไม่ได้จริง

    นี่คือไม่ใช่ตัวเรา แต่เป็นสิ่งอื่นอย่างอื่นนอกจากเรา

    ใจเห็นแบบนี้บางทีก็ยอมรับความจริงได้ บางทีใจก็ยังไม่ยอมค่ะ

    ถ้าอยากเป็นคนโชคดี ปฏิบัติได้ไว ไม่เหนื่อยนาน

    ก็ควรศึกษาและปฏิบัติกันโดยเร็วพลันนี้ค่ะ

    ถ้าชาตินี้เรายาก เราไม่ได้ธรรม ชาติหน้าเราจะสบายและได้ธรรมโดยไวค่ะ

  • 9 years ago

    ขออนุโมทนา และขอบพระคุณ

    ที่นำสิ่งดี ๆ เป็นบุญ เป็นกุศล

    มาเผยแพร่

    แต่ขณะนี้ เวลานี้

    ผมภาวนา "พุท-โธ"

    เพราะผมเชื่อว่า

    จะทำให้เข้าถึง "นิพพาน" เร็วที่สุดครับ

  • Prapun
    Lv 4
    9 years ago

    ขอบคุณนำสิ่งดีๆมาที่มาบอกกัน ตอนนี้ผมยังทำได้แค่ ฝึกตามดูลมหา��¸¢à¹ƒà¸ˆà¹„ปวันๆ เท่านั้นเองครับ

  • 9 years ago

    โกรธแล้วรู้ตัว จึงค่อยดับโกรธ โลกียะ

    โกรธแล้วรู้ต้นเหตุแห่งการโกรธ ไม่ให้เกิดโกรธตอบ โลกุตตระ

    ขอบคุณผู้มอบให้จากใจ

    ขอธรรมทานจงเปิดทางสว่างทางปัญญาแก่ผู้ปรารถนาดีแล้วทั้งปวง

  • How do you think about the answers? You can sign in to vote the answer.
  • Right
    Lv 5
    9 years ago

    ขอบคุณที่นำเรื่องสติปัฏฐานมาให้อ่าน และเรื่องอินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ = ใช้อินทรีย์อย่างมีสติมิให้เกิดโทษ)

  • Anonymous
    9 years ago

    ารปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ในขณะดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งทำได้โดยการตั้งสติดูกาย เวทนา จิต ธรรม นั้น ควรสังเกตค่ะว่ามีการปฏิบัติแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือการปฏิบัติที่เป็นไปในฝ่ายสมถะ และการปฏิบัติที่ครอบคลุมขึ้นจนเป็นวิปัสสนา (1) เราปฏิบัติอย่างไรก็ย่อมได้ผลอย่างนั้น

    หากเราปฏิบัติสติปัฏฐาน โดยตั้งสติตามดูดูลมหายใจ (2) ดูอิริยาบทของร่างกาย (3) ดูร่างกายอันประกอบไปด้วยธาตุ หรือความไม่งามในกาย รวมไปถึงดูการเปลี่ยนแปลงของกายหากหมดลมหายใจ (4) เพื่อโน้มน้าวจิตให้สงบ (5) ดูเวทนาที่เกิดเพื่อให้รู้ทัน(6) ดูจิตขณะที่ถูกกระทบด้วยธรรมใดๆว่าเป็นอย่างไรในขณะนั้น (7) ดูธรรมต่างๆ (8) เพื่อให้จิตผ่องใส

    หากเราปฏิบัติในลักษณะนี้ คà¸��อการปฏิบัติในลักษณะของสมถะ ผลลัพธ์ที่ได้ คือ เพราะตั้งสติที่กาย เวทนา จิต ธรรมอยู่เสมอ จึงเกิดอินทรียสังวร (9) มีสมาธิดี มีจิตที่สงบ และมีเครื่องปิดกั้นจิตจากอกุศลกรรมใหม่

    แต่

    ไม่ได้ขุดล้างอกุศลธรรมเก่าที่นอนเนื่องในจิต แต่อย่างใด

    เราจึงพบว่า ถ้าเราโกรธง่ายอยู่อย่างไร ก็ยังคงโกรธง่ายอยู่อย่างนั้น เพียงแต่เมื่อโกรธแล้วเราสามารถควบคุมตัวเองได้เพราะรู้ทันและดับได้ก่อนที่จะระเบิดเปิดเปิง

    หากเราปฏิบัติตามลักษณะนี้ ก็น่าเสียดาย ซึ่งพุทธพจน์นี้คงยืนยันได้

    “๓ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดอุปธิทิ้งนั้นอยู่ เพราะความหลงลืมสติในบางครั้งบางคราว สติเกิดช้าไป ที่จริงเขาละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไปได้ในฉับพลัน คนหยดน้ำ ๒ หยด หรือ ๓ หยดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนอยู่ตลอดวัน หยดน้ำที่หยดลงอย่างช้าๆ ก็จะเหือดแห้งไปฉับพลัน แม้ฉันใด บุคคลในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอันครอบงำด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธินั้นอยู่ เพราะความหลงลืมสติในบางครั้งคราว สติเกิดช้าไป ที่จริงเขาละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไปได้โดยฉับพลัน เราเรียกบุคคลนั้นว่า “ผู้ยังมีกิเลส ไม่ใช่ผู้คลายกิเลส”

    ม.ม.(แปล) ๑๓/๑๕๔/๑๗๒

    เพราะนั่นหมายถึง เราปฏิบัติด้วยการดูกาย เวทนา จิต ธรรม จนจิตสงบ มีกำลัง และควรแก่การใช้งานแล้ว แต่กลับไม่ใช้จิตที่เหมาะจะใช้งานนี้ไปพิจารณาธรรมจนเกิดปัญญาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

    การปฏิบัติสติปัฏฐานจึงถือว่ายังไม่สมบูรณ์ เพราะกิเลสยังไม่ถูกขูดเกลาให้ลดน้อยลง ดังที่ได้เรียนว่าการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 มี 2 ระดับ คือระดับโลกิยะ และ ระดับโลกุตตระ หากเราไม่รู้จักสติปัฏฐานตามความเป็นจริง ก็อาจตัดโอกาสที่จะหลุดพ้นจากวัฏฏะได้ (10)

    การปฏิบัติอีกลักษณะคือ การตั้งสติติดตามดูเช่นเดียวกับในลักษณะแรก หากเมื่อพิจารณาลักษณะของกาย เวทนา จิต ธรรม จนจิตสงบดีแล้ว มีการนำจิตที่เหมาะจะใช้งานนั้นมาพิจาณาหาความจริงต่อ โดยน้อมการพิจารณานั้นๆลงสู่ไตรลักษณ์ และปฏิจจสมุปบาทต่อ

    เช่น เมื่อพิจารณากายอันประกอบด้วยธาตุ 4 หรือลักษณะที่ไม่งามภายในร่างกาย หรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังการตายไปจนจิตสงบลง ก็พิจารณากายด้วยไตรลักษณ์เพื่อให้เห็นความจริงตามธรรมดาของกายต่อไป (11)

    หรือในขณะที่จิตสงบ มีการสอดส่องธรรม (ธัมมวิจยะ) หยิบทั้งกุศลธรรม และอกุศลธรรมขึ้นมาพิจารณา

  • Anonymous
    9 years ago

    ขอบคุณค่ะ

  • Anonymous
    9 years ago

    ขอบคุณค่ะ

    ฝากพุทธวัจนะหน่อยนะคะ

    http://www.watnapp.com/

  • 9 years ago

    ครึ ครึ ครึ โลกียะ(สติปัฏฐาน 4) โลกุตตระ(มหาสติปัฏฐานสูตร)

    ในสติปัฏฐาน 4 มี 4 ระดับ(กาย เวทนา จิต ธรรม) ที่ว่าในอิริยาบท(กริยา)มี 2 ระดับ หมายถึง สมถะ(โลกียะ) และวิปัสสนา(โลกุตตระ) ฝึกอย่างไรก็ได้ผลตามนั้น หมายถึงเอาทั้ง 2 อย่าง(สมถะและวิปัสสนา) หาใช่ทำเฉพาะอย่างไม่ เพราะเราไปติดกับสมมุติกับภาษาที่ใช้สื่อมากเกินไป จึงอาจเกิดความเข้าใจผิด(หลงทาง)ได้ง่าย

    สติปัฏฐาน ได้แก่ ฐานที่ตั้งของสติ

    สติ ได้แก่ สติเจตสิก ซึ่งคือตัวการที่ก่อให้เกิดความสำนึก รู้สึกตัว มิให้จิตไหลไปในทางอกุศล(สติเจตสิกที่แท้จริงจะเกิดพร้อมกับจิตที่เป็นกุศลเสมอไป)

    ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้ง หมายถึง ที่ตั้งของธรรม(อันมีสติกำกับอยู่) ซึ่งก็ได้แก่ อารมณ์ต่างๆที่เป็นรูปและนามนั้นๆเป็นที่กำหนดรู้ด้วยสติและสัมปชัญญะ

    สติ ได้แก่ สติเจตสิกระลึกรู้มิให้จิตไหลไปในแดนของอกุศล(บาป)

    ส่วนสัมปชัญญะ ก็ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อความปรารถนาที่จะให้ถึงซึ่งความหมดจดจากกิเลส

    ดังในวารสูตรอรรถกถาได้แสดงว่า

    ปฏฺฐฺตีติปฏฺฐานนํ

    แปลความว่า ที่ตั้งของธรรม คืออารมณ์ ชื่อว่า"ปัฏฐาน"

    ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรม(วิปัสสนากัมมัฏฐาน)จะต้องกำหนด(รับรู้รูปนาม) จะต้องพิจารณา(อารมณ์)ที่มากระทบจิต

    คือ เข้าไปรู้อารมณ์ที่เป็นรูปธรรมนามธรรม ซึ่งได้แก่

    "สติ"ระลึกรู้อารมณ์ที่มาปรากฏ(อยู่)ต่อหน้าให้ทันต่อปัจจุบันเสมอ จึงชื่อว่า"สติปัฏฐาน 4"

    ดังนั้น ไม่ควรไปแบ่งเป็นระดับนั้นระดับนี้ ควรทำเองรู้เอง(ในระดับ)จะดีกว่าไปรับรู้อะไรที่ครึ่งๆกลางๆ เพราะอาจหลงทาง หรืออวดอุตริตนได้ พึงระวัง

    Source(s): อิธภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชฺาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสงฺ เวทนาสุ เวทนา นุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสงฺ จิดฺเต จิตฺตา นุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสงฺ ธมฺเมสุ ธมฺมา นุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสงฺ สติปัฏฐานนั้นเป็นธรรมอันแสนประเสริฐ ทั้งนี้ก็เพราะผู้พิจารณาอารมณ์ในสติปัฏฐานนี่ มีอยู่ 4 หมวด คือ กาย เวทนา จิต และธรรม มีความสามารถที่จะนำทางให้ไปถึงฟากฝั่งของพระนิพพานได้ เป็นธรรมอันเกษมของบัณฑิตทั้งหลาย
Still have questions? Get your answers by asking now.