Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

ช่วยให้คำจำกัดความของคำว่าพูดเพ้อเจ้อ?

นึกถึงคำสอนพุทธองค์ที่มิให้พูดเท็จ ส่อเสียด หยาบคาย เพ้อเจ้อ

แล้วเพ้อเจ้อมีข้อเสียอย่างไร จึงทรงห้าม

7 Answers

Rating
  • 9 years ago
    Favorite Answer

    พูดโดยไร้สติ ไม่ไตร่ตรองก่อน ว่าที่พูดไปนั้นจะสร้างความเสียหายแก่ตนเอง

    หรือแก่ใครบ้าง

    การพูดเช่นนี้ จึงทำให้ตนเองและคนอื่น ได้รับความลำบาก พระพุทธองค์จึงทรง

    ให้พึงสังวรณ์เอาไว้

    ผลเสียที่จะตามมานอกเหนือจากนี้คือ

    1 ขาดการเชื่อถือจากคนทั่วไป

    2 ทำให้เกิดอาการเป็นโรคประสาทได้ง่าย

    3 นรกเป็นที่หมายในเบื้องหน้า

    4 ตัดอรหันต์ นิพพานในชาตินั้น

    Source(s): http://www.watpabankor.com/webboard/ ศึกษาธรรมะต่อ ได้ที่นี่ครับ
  • Akiko
    Lv 7
    9 years ago

    อาจจะตอบได้ไม่ตรงกับ " คำถาม " เท่าไหร่ ? นักน่ะค่ะ

    *** องค์ประกอบของสัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นสาระ) ***

    ๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นสาระ)

    สัมผัปปลาปะ คือการพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่เป็นสาระ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บทคือ

    สมฺผ แปลความว่า ทำลายประโยชน์ และความสุข

    ปลาป แปลความว่า การกล่าววาจา

    เมื่อรวมกันแล้วเป็น สมฺผปฺปลาป แปลความว่า การกล่าววาจา ทีทำลายประโยชน์ และความสุข ดังมีวจนัตถะว่า

    สํหิตสุขํ ผลติ วินาเสตีติ - สมฺผํ

    "วาจาอันใด ย่อมทำลายประโยชน์ และความสุขต่างๆ วาจานั้นชื่อว่า สัมผะ"

    สผฺผํ ปลปนฺติ เอเตนาติ - สมฺผปฺปลาโป

    "การกล่าววาจาที่ทำลายประโยชน์ และความสุขต่างๆด้วยเจตนานั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าววาจานั้น ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ"

    การกล่าววาจาที่เป็น สัมผัปปลาปะ จึงหมายถึง การกล่าวเรื่องราวต่างๆอันหาสาระประโยชน์ไม่ได้ เช่น การเรื่องภาพยนต์ โขน ละคร หรือพูดจาตลก คะนอง ตลอดจนนักเขียนนวนิยาย จินตกวี เหล่านี้ จิตเป็นสัมผัปปลาปะทั้งสิ้น เพราะผู้ฟังก็ดี ผู้อ่านก็ดี มิได้รับประโยชน์ให้เกิดปัญญา แก้ทุกข์ในชีวิตลงได้ เพียงแต่ให้จิตใจเพลิดเพลินไปชั่วครั้งชั่วคราว เท่าที่ฟังหรืออ่านอยู่เท่านั้น

    องค์ประกอบของ สัมผัปปลาปะ มี ๒ ประการ

    ๑.นรตฺถกถาปุรกฺขาโร เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์

    ๒. กถนํ กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์นั้น

    องค์ธรรมของ สัมผัปปลาปะนี้ จึงสำคัญที่อกุศลเจตนา ที่เป็นเหตุแห่งการกล่าว สัมผัปปลาปะ ส่วนถ้อยคำที่กล่าวขึ้นเป็นผลของสัมผัปปลาปะเจตนานั่นเอง มีวจนัตถะเกี่ยวกับสัมผัปปลาปะ แสดงไว้ว่า

    สมฺผสฺส นิรตฺกถา ปุรตา กถนํ ทุเว

    ปเรน คหิเตเยว โหติ กมฺมปโถ น โน

    แปลความว่า องค์ทั้ง ๒ ของสัมผัปปลาปะนั้น คือเจตนากล่าววาจา ที่ไม่มีประโยชน์อย่างหนึ่ง กล่าววาจานั้นขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อผู้ฟัง หรือผู้อ่าน เชื่อคำกล่าวนั้น ก็สำเร็จเป็นกรรมบท แต่ถ้าผู้อ่าน หรือผู้ฟังไม่เชื่อตาม ก็ไม่สำเร็จเป็นกรรมบท เพียงเป็นแต่เป็นสัมผัปปลาปะเท่านั้น

    (คัดจาก หนังสือพระอภิธรรมมัตถสังคหะ)

    Source(s): ชมข้อมูลได้ ตา " ลิ้งค์ " ที่แนบมาน่ะค่ะ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=91115
  • 9 years ago

    ครึ ครึ ครึ ในอกุศลกรรมบท 10

    ข้อ 4,5,6,7 แยกข้อการพูดกอปรด้วย การพูดเท็จ(มุสาวาท) พูดส่อเสียด(ปิสุณวาจา) พูดคำหยาบ(ผรุสวาจา) และพูดเพ้อเจ้อ(สัมผัปปลาป) ตามลำดับ

    สำหรับกรรมจากการพูดเพ้อเจ้อ 4 ประการก็กอปรด้วยประการฉะนี้

    1 ) เป็นอธรรมวาทบุคคล หรือเป็นผู้ที่ถูกกล่าวหา

    2 ) ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน

    3 ) ไม่มีอำนาจ และ

    4 ) วิกลจริต

    ส่วนคำนิยามก็มีอยู่ในตัวอยู่แล้ว หมายถึงการฟุ่มเฟือยไร้สาระน้ำท่วมทุ่งฯอะไรปานนั้นแหละ(ฮา) ยิ่งเราไปจำกัดคำในข้อความ ก็คล้ายทำเรื่องไม่เป็นเรื่องให้เป็นเรื่องขึ้นมา คล้ายสอนเด็กว่าอย่าทำ เด็กก็จะสงสัยอยู่เรื่อยไป เฉก อย่าเล่นไฟมันร้อน เด็กต้องจับเสียก่อนจึงจะรู้ว่าความร้อนเป็นเฉกใด(ฮา)

    พูดเพ้อเจ้อก็เหมือนกัน เมื่อผลเกิดอาจเป็นข้อ 1 หรือข้ออื่นๆ เกิดระลึกได้ ก็จะเลิกไปเอง

    ที่เห็นเด่นชัดมากคือคนที่ชอบพูดเท็จ ปากจะมีกลิ่นเหม็นมาก ถึงตอนนั้นคำจำกัดความคงไม่จำเป็นแล้วมั๊ง(ฮา)

  • 9 years ago

    "พูดในสิ่งที่ไร้สาระ หรือไม่มีวันเป็นความจริง"

    http://larndham.org/index.php?/topic/19797-%E0%B8%...

    Source(s): หาจากGoogle ค่ะ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ไปด้วย ขอบคุณค่ะ
  • How do you think about the answers? You can sign in to vote the answer.
  • Anonymous
    9 years ago

    พูดไปเรื่อยเปื่อย หาสาระประโยชน์กับสิ่งท��¸µà¹ˆà¸žà¸¹à¸”ไม่ได้

  • 9 years ago

    พูดจาไร้สาระ ไม่มีเหตุผล ไม่เป็นจริง(เรื่องโกหก) ลมๆแล้งๆ(ไม่มีแผนการณ์มาสนับสนุนว่าจะจริง)

    ยกตัวอย่างเช่น การพูดเล่นตลกของนักแสดงตลกเป็นต้น

    ข้อเสียคือ ไม่มีใครเชื่อถือคำพูดของตน

  • 9 years ago

    ความเพ้อเจ้อ อาจมีมุมความจริงแฝงอยู่บ้าง ถ้าคนฟังแยกออก

    พูดเพ้อเจ้อ สร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ฟัง (หูไม่ถึง) ได้ จึงมอง

    เป็นเรื่องไร้ค่า ไร้ความหมายที่สื่อออกมา

Still have questions? Get your answers by asking now.