Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

การเดินธุดงค์ของพระสงฆ์เป็นการปฏิบัติในแนวทางของเทวทัตหรือไม่?

ในสมัยหนึ่ง เทวทัตได้เข้าไปกราบทูลขอต่อพระพุทธเจ้า ขอให้พระสงฆ์อยู่ธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติ

แต่พระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วย ทำให้เทวทัตเสียหน้าอับอาย จึงสร้างความโกรธแค้นต่อเทวทัตจนนำมาสู่การลอบสังหารพระพุทธเจ้าโดยการกลิ้งก้อนหินลงจาภูเขาเข้าใส่พระพุทธเจ้า

และในปัจุจบันนี้ พระในเมืองไทยนิยมการเดินธุดงค์ ก็เลยเกิดข้อสงสัยว่า การเดินธุดงค์เป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญหรือไม่

หาหมวดศาสนาไม่ถูก

5 Answers

Rating
  • Favorite Answer

    พระพุทธเจ้าท่าน ไม่อยู่แล้ว แล้วแต่พระ ผู้ใหญ่จะตีความกันไป จะผิด หรือถูก เจ้าสำนัก สำนึกเอาเอง แต่โลกติเตียน หนีไม่พ้น ความจริง ไม่น่าเดินหรอก บนถนน สำนักนี้เขา อภินิหารมาก ทำไมไม่เดินมาบนอากาศ ก็ไม่รู้ หรือเขาไม่อยากอวดอภินิหาร เลย เดินเกะกะเล่น เจ้าสำนัก นั่งรถคุมขบวนมาหรือป่าวไม่รู้ ก็ว่ากันไปตามใจ เถรวาส

    มีบ้างธุดงธ์ ส่วนมาก จะเป็นช่วงที่พระ เข้า ปริวาสกรรม ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ ก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป, ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตนและประจานตัว ส่วนมากท่านจะถือโอกาส ออกธุดงธ์ไปด้วย บางท่านก็เดินไปจนถึงสถานที่ ที่จะอยู่ปริวาส ไกลหลายร้ยกิโลเมตร ก็มี

  • 9 years ago

    เงื่อนไข 5 ข้อ คือ

    (1) พระต้องอยู่ป่าเป็นวัตร (หมายถึงอยู่ประจำ) ตลอดชีวิต รูปใดอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน มีความผิด

    (2) พระต้องเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดรับกิจนิมนต์ มีความผิด

    (3) พระต้องใช้ผ้าบังสกุลเป็นวัตร (หมายถึงหาเศษผ้ามาทำจีวรเอง) ตลอดชีวิต รูปใดใช้ผ้าที่ทายกถวาย มีความผิด

    (4) พระต้องอยู่ตามโคนต้นไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยอยู่ในà¸��ี่มุงที่บัง มีความผิด

    (5) พระต้องไม่ฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉัน มีความผิด

    ข้อเสนอ 5 ประการนี้ส่อความจริงสองประการคือ ประการที่หนึ่ง พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์แน่นอน หาไม่เทวทัตจะยกเอามาเป็นเงื่อนไขเพื่อให้พระองค์ห้ามพระฉันทำไม ถ้าพระองค์และพระสาวกไม่ฉันอยู่ก่อนแล้ว อีกประการหนึ่ง เทวทัตผู้ยื่นเงื่อนไขเองก็คงปฏิบัติตามไม่ได้ แต่ที่เสนอขึ้นมาเป็นเพียง "แผน" หาคะแนนนิยม หาสมัครพรรคพวกเท่านั้นเอง (เพราะขณะนั้นมีสมุนคู่ใจเพียงสี่รูปเท่านั้น) และรู้อยู่แก่ใจแล้วว่า พระพุทธเจ้าทรงนิยม "การปฏิบัติสายกลาง" อะไรที่มัน "ตึงเกินไป" ย่อมขัดต่อพุทธประสงค์

    การณ์ก็เป็นไปตามที่เทวทัตคาด พระพุทธเจ้าตรัสปฏิเสธเงื่อนไขของพระเทวทัตด้วยเหตุผลว่า "อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจงอยู่ในบ้าน รูปใดปรารถนาจงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนาจงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาตโคนไม้เป็นเสนาสนะ 8 เดือน เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยสามส่วน คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ (สงสัยว่าเขาฆ่าเจาะจงตน)" (เพราะไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 384 หน้า 185)

    เทวทัตได้ทีจึงขี่แพะไล่ทันที ประกาศก้องว่า เห็นไหมท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พระสันโดษมักน้อย ไม่สะสมมีความเพียร ปฏิบัติเคร่งครัดแต่ปาก ครั้นเราเสนอข้อปฏิบัติที่เคร่งครัดกลับไม่อนุญาตให้พระปฏิบัติ แสดงว่าไม่เคร่งจริง ใครชอบปฏิปทาที่เคร่งครัดให้ตามเรามา

    กล่าวเสร็จก็ "วอล์กเอาต์" จากที่ประชุม

    พระบวชใหม่ประมาณ 500 รูป ที่ยังไม่รู้พระธรรมวินัยดีเห็นเทวทัตเธอพูดเข้าท่า จึงตามไปสมัครเป็นลูกน้องด้วย นับว่าแผนการยึดอำนาจของพระเทวทัตได้บรรลุผลไปขั้นหนึ่ง

    เรื่องเกี่ยวกับเสวย หรือไม่เสวยเนื้อสัตว์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ชัดเจน ในสูตรอีกสูตรหนึ่งชื่อ ชีวกสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ 13 ข้อ 56-61 หน้า 47-51)

    มีข้อความโดยย่อว่า หมอชีวกโกมารภัจ ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ได้ยินคนเขาพูดว่า คนทั้งหลายฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระองค์ทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่ทำเฉพาะตนมีความจริงเพียงใด คนที่พูดนั้นพูดตรงกับความจริง หรือว่ากล่าวตู่ (กล่าวหา) พระองค์ด้วยเรื่องไม่จริง

    พระองค์ตรัสว่า หากเขาพูดเช่นนั้น แสดงว่าเขาพูดไม่จริง กล่าวหาด้วยเรื่องไม่มีมูล และตรัสต่อไปว่า

    เนื้อที่ไม่ควรบริโภคคือ เนื้อที่ตนได้เห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ส่วนเนื้อที่ควรบริโภค คือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่รังเกียจ หมายความว่า ถ้าพระภิกษุได้เห็นกับตา หรือได้ยินกับหู ว่าอาหารที่เขานำมาถวาย เขาฆ่าแกงให้ท่านโดยเฉพาะหรือสงสัยว่าเขาจะฆ่าแกงให้ท่านโดยเฉพาะ ก็ไม่ควรฉัน ถ้าไม่อยู่ในเงื่อนไขนี้ก็ฉันได้

    ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงอธิบายถึงปฏิปทาของพระองค์และพระสาวกในเรื่องนี้ว่า ภิกษุจะไปอยู่ที่ใด ไม่ว่าบ้านหรือนิคม ย่อมมีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นปกติอยู่แล้ว แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์หาที่สุดหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนใคร เมื่อชาวบ้านเขานิมนต์ไปรับ ภัต (อาหาร) ก็รับนิมนต์ วันรุ่งขึ้นก็ไปรับบิณฑบาตโดยมิได้ขอร้องให้เขาถวาย แผ่เมตตาไปยังผู้ใส่บาตร ไม่ติดในรสอาหาร ฉันอาหารด้วยอาการสำรวม ปลงและพิจารณาก่อนฉัน ฉันพอประมาณพอยังชีพอยู่เพื่อทำประโยชน์แก่สังคม

    สุดท้ายทรงสรุปว่า ใครก็ตามที่ฆ่าสัตà��§à¹Œà¹€à¸ˆà¸²à¸°à¸ˆà¸‡à¸•à¸–าคตหรือสาวกของตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก (หมายถึงบาปมาก) ด้วยเหตุ 5 สถาน คือ

    (1) สั่งให้นำสัตว์ตัวนี้มา (เท่ากับชักนำให้คนอื่นร่วมทำบาปด้วย) นี่บาปสถานหนึ่ง

    (2) สัตว์ที่ถูกนำมาฆ่า ถูกลากถูลู่ถูกังมา ได้รับความเจ็บปวดเป็นอันมาก นี่บาปสถานสอง

    (3) ออกคำสั่งให้เขาฆ่า (ตัวเองก็บาป คนฆ่าก็บาป) นี่บาปสถานสาม

    (4) สัตว์ที่กำลังถูกฆ่าได้รับทุกขเวทนาสาหัสจนสิ้นชีพ นี่บาปสถานสี่

    (5) ทำให้คนอื่นเขาหาช่องว่าพระตถาคตและสาวกด้วยเรื่องเนื้อสัตว์ที่ไม่ควร นี่บาปสถานห้า

    (จริงอยู่ ถ้าพระไม่รู้ไม่เห็นไม่สงสัย ว่าเขาจะฆ่าเจาะจงตนไม่ต้องอาบัติ แต่คนภายนอกอาจหาว่าพระรู้แต่แกล้งไม่รู้ หรือปากว่าตาขยิบก็ได้)

    ผมได้กล่าวไว้แล้วว่า พระพุทธเจ้าเสวยทั้งเนื้อสัตว์และมิใช่เนื้อสัตว์ คือบางครั้งเสวยอาหารที่ปรุงด้วยปลาและเนื้อ บางครั้งเสวยอาหารเจ ขึ้นอยู่กับบิณฑบาตได้อาหารอย่างใดมา เขาถวายอะไรก็เสวยอย่างนั้น

    พูดให้ถูกก็ว่า พระองค์เสวยอาหารเพียงเพื่อยังชีพให้ยืนยาวต่อไป เพื่อมีกำลังบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก มิได้มานั่งจำแนกว่านี่เนื้อสัตว์ นี่มิใช่เนื้อสัตว์

    ไม่ว่าพระองค์จะเสวยอะไร ทรงเสวยด้วยอาการไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่คือประเด็นที่ควรใส่ใจ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กินอะไร แต่อยู่ที่กินด้วยอาการอย่างไร

  • เข้าใจสายกลางก็จะรุ้ว่า ท่านเทวทัต วางเจตนาแอบแฝงหวังผลใช่การปฎิบัติให้ถูกต้อง

    ผมเคยรู้จักพระรูปหนึุ่ง ท่านเป็นคน จังหวัดราชบุรี ท่านจำวัดอยู่แม่สาย วัดพรหมวิหาร ในสมัยนั้น ท่านได้กลับมาบ้าน แล้วขากลับท่านก็เดินกลับวัด ระยะเวลาเดินกลับ อย่างใจเย็น ก็ราวๆ21วัน ท่านว่าแวะบ้าง เร็วบ้างตามอัธยาศัย ด้วยเจตนาจะเดิน เวลาท่านเดินไปกลางทาง มีคนจอดรับท่านก็ขึ้น แต่นั่งไปสัก1 กม ท่านก็ขอลง ท่านว่า ไม่ให้เสียศรัทธา ไม่เดินข้างทาง เดี๋ยวก็จะหลง จะไปเดินในไร่ในสวนเปล่าๆเดินข้างทางมันตรงที่สุดแล้ว บางครั้งท่านไปแวะพักตามวัด มีคนถวายปัจจัยท่านก็รับ แต่พอจะออกจากวัดนั้นท่านก็ถวายให้วัดนั้น ท่านว่ามีบ้างเหมือนกันถูกหาว่ามา่แย่งปัจจัยนะ ที่พูดให้เห็นก็จะบอกว่า ต้องดูว่า การธุดงของท่านทำเพื่ออะไรมากกว่า บางท่านอุปนิสัย อยุ่ในเรือนก็ไม่ชอบนัก ปฎิบัติ ไม่ก้าวหน้า บางท่านอยู่ป่าก็ไม่ชอบนัก เจตนาจริงๆ จึงอยู่ที่ การอยุ่ที่ใด ฝึกตนเหมาะแก่รุปท่าน ท่านก็เลือกทืางนั้น ตอนหลัง โชคดีได้มีโอกาสพบท่าน ที่นครสวรรค์ ที่วัดเขาโคกเผ่นแต่ได้ข่วมาว่า ลาสิกขาออกมาแล้ว แต่ก่อนออกก็ เห้น่ท่านฝึกพระหลายรูปเข้าจงกรมภาวนาสมาธิอยู่เต็มวัด ท่านชื่อ พระอาจารย์แดง หลาน ของหลวงพ่อเต๋ วัดพรหมวิหาร ผมได้สนทนากับท่านอยุ่ 2 -3 ครั้ง ถูกอัธยาศัยกันมาก

    บางท่านก็ นิยมอยุ่สันโดษ อย่างหลวงพี่แทน ผมได้รุ้จักสมัยท่านมีชีวิตอยุ่ รุปนี้จำพรรษาบนภูกระดึง ขออณุญาติเจ้าหน้าที่จำพรรษาในถ้ำบนนั้น ทุกวันก็ลงมาบิณฑบาตด้านล่าง เดินลงจากเขาตั้งแต่ตี3 ขึ้นกลับไปก็ ราวๆ 10.00น.แบบนี้ก็เรียกว่าชอบสันโดษ รูปนี้รักกับผมมาก มรณถาพ ยังมาลาบอกกันให้รุ้ สนุกดี

    ดังนั้น แนวทางก็อยุ่ที่ ความชอบใจจริงๆเพื่อให้เหมาะแต่ตนแก่การฝึก

  • 9 years ago

    เทวทัต ทำให้สงฆ์แตกแยก ถึงต้องโดนธรณีสูบ การเดินธุดงค์ของพระสงฆ์ในสมัยก่อนเพื่อค้นหาการหลุดพ้น ส่วนการเดินธุดงค์ของพระสงฆ์ในสมัยนี้มีผลประโยชน์ซ้อนเร้นอยู่เบื้องหลังหารโดยเพื่อการหลุดพ้นไม่ ทำไมถึงกล่าวเช่นนี้เพราะไปเป้นขบวนจà��°à¸«à¸²à¸„วามสงบได้อย่างไรใช่ไม่ใช่ ดังนั้น การเดินธุดงค์ของพระสงฆ์จะเดืนหรือไม่เดินไม่ใช่เรื่อง หากแต่อยู่ที่ปฏิบัติข้อวัตรที่พระพึงปฏิบัติให้เคร่งครัดก็น่านับถือแล้ว ครับ

  • How do you think about the answers? You can sign in to vote the answer.
  • 9 years ago

    การเดินธุดงค์นั้นมุ่งหมายเพื่อถ่ายถอนกิเลส กำจัดกิเลส

    ธุดงค์ก็แปลว่า เครื่องกำจัดความอยาก มีการฉันหนเดียว ฉันในบาตรไม่มีภาชนะอื่น การบิณฑบาต การอยู่โคนต้นไม้ การอยู่ป่า การปฏิบัติอย่างนี้ชื่อว่าเป็นธุดงค์ เช่นการฉันหนเดียวเป็นการตัดความอยากที่จะต้องการฉันอย่างโน้นอย่างนี้ เมื่อฉันแล้วก็แล้วกัน ในวันนั้นตัดการกังวลทั้งปวง หรือ เช่นการฉันในบาตร ก็ไม่ต้องคิดถึงรสชาติ หรือต้องหาภาชนะให้เป็นการกังวล ที่จะคิดว่าจะแบ่งกับข้าว และข้าวไว้ต่างกันเพื่อหารสชาติแปลกๆ ต่างๆ รวมกันหมดในà¸��าตร เป็นการขจัดความอยากอย่างหนึ่ง หรือเช่นการไปอยู่ในป่าที่ไกลจากบ้านพอสมควร หือในถ้ำภูเขานี้ก็เป็นการหาสถานที่เพื่อบำเพ็ญกัมมัฏฐาน แสวงหาความสงบเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม

    จากหนังสือ ประวัติพระอาจารย์มั่น ฉบับสมบูรณ์ และใต้สามัญสำนึก โดยพระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล) หน้า 107

Still have questions? Get your answers by asking now.