Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

ถามเรื่องการแบ่งทรัพย์สินสามีภรรยา(จดทะเบียนสมรส)ไม่มีลูก แต่ทรัพย์สินเป็นชื่อภรรยา ต่อมาสามีเสียชีวิตทรัพย์สิ?

ทั้งหมดที่เป็นชื่อภรรยา พ่อแม่ฝ่ายสามีมีสิทธิ์เรียกร้องทรัพย์สินได้หรือไม่

6 Answers

Rating
  • 8 years ago
    Favorite Answer

    เมื่อบุคคลใดตาย จะต้องพิจารณาว่าในขณะที่เขาตายมีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้างเช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงิน ทอง เป็นต้นนอกจากนี้แล้วยังรวมถึงสิทธิต่างๆที่ผู้ตายจะได้รับและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ผู้ตายจะต้องรับผิดชอบด้วยเช่นผู้ตายมีหน้าที่จะต้องรับผิดชดใช้เงินแก่บุคคลภายนอก

    ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย

    เมื่อบุคคลใดตายทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายย่อมเป็นมรดกของผู้ตาย นอกจากนั้นยังรวมถึงสิทธิทั้งหลายที่ผู้ตายจะได้รับด้วยเช่นผู้ตายฝากเงินไว้ที่ธนาคารผู้ตายย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้เงินต้นคืน พร้อมด้วยดอกเบี้ยเป็นต้น

    มรดกตกทอดเมื่อเจ้ามรดกตายมรดกจะตกทอดไปยังทายาทเมื่อใดต้องพิจารณาว่าการตายนั้นมีผลเมื่อใด

    (1) ตายโดยธรรมชาติ มีผลทันที

    (2) ตายโดยคำสั่งศาล มีผลเมื่อศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุคคลหายสาบสูญ

    มรดกตกทอดแก่ทายาท

    มาตรา 1599 “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท”

    หมายความว่าเมื่อบุคคลใดตายไม่ว่าจะตายโดยธรรมชาติ หรือโดยคำสั่งศาล ทรัพย์สินของผู้ตาย

    ย่อมตกทอดไปยังทายาทโดยผลของกฎหมาย

    จะมีผลทันทีที่เจ้ามรดกตาย และทายาทไม่ต้องแสดงเจตนารับเอามรดกนั้น ทายาทเข้าใช้สิทธิ์ในฐานะเป็นผู้รับมรดกได้ทันที

    ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

    1. ทายาทโดยธรรม

    2. ผู้รับพินัยกรรม

    ทายาทโดยธรรม หมายถึง บุคคลที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยตรงว่าให้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

    ก. ทายาทที่เป็นญาติ

    ข. ทายาทที่เป็นคู่สมรส

    ทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติ จำแนกออกเป็น 6 ประเภทคือ

    1. ผู้สืบสันดาน

    2. บิดามารดา

    3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

    4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน

    5. ปู่ ย่า ตา ยาย

    6. ลุง ป้า น้า อา

    ผู้สืบสันดาน หมายถึง

    ทายาทที่อยู่ใกล้ชิดเจ้ามรดกได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื้อ ของเจ้ามรดกเป็นผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงไปขอ��เจ้ามรดก ในกรณีนี้ทายาทที่ใกล้ชิดคือ ลูก ดังนั้นหลาน เหลน ลื้อ จึงยังไม่มีสิทธิในมรดกแต่จะรับมรดกโดยการแทนที่เท่านั้น

    การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรส

    หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใดคู่สมรสย่อมได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสครึ่งหนึ่งของกองมรดกนั้นตาม ม.1625

    การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างผู้ตายกับทายาท

    คู่สมรสเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทอีกฐานะหนึ่งอีกด้วย ดังนั้นทายาทที่จะมีสิทธิรับมรดกคือทายาทที่ใกล้ชิดเว้นแต่(1) ,(2) ของ ม.1629 ได้แก่

    1.คู่สมรส 2. ลูก(ผู้สืบสันดานที่ใกล้ชิด) 3. บิดามารดา (ที่มีชีวิต)

    การรับมรดกแทนที่

    กฎหมายบัญญัติในมาตรา 1639 ว่าถ้าบุคคลใดซึ่งเป็นทายาทตามมาตรา 1629(!) (3)(4)(6)

    ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่การรับมรดกแทนที่ให้สืบต่อกันไปจนหมดสาย

    ฎ.1249/2493 เมื่อบิดาผู้ซึ่งมีสิทธิรับมรดกยังมีชีวิตอยู่ และไม่ถูกกำจัดให้รับมรดก บุตรไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่

    ฎ.619/2508 เมื่อบิดาทายาทโดยธรรมตายก่อนเจ้ามรดก และ บุตรมีสิทธิรับมรดกแทนที่ได้

  • 8 years ago

    พ่อแม่ของสามีมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากับภรรยาค่ะ

  • 6 years ago

    รบกวนถามนะค่ะ..ดิฉันแต่งงานกับสามี(จดทะเบียนสมรส) เเต่ไม่มีลูกด้วยกัน แต่สามีมีลูกที่เกิดจากภรรยาเก่า อยากจะถามคะว่า ถ้าสามีดิฉันเสียชีวิต ลูกของสามีจะได้รับมรดกอย่างไรบ้าง หรือถ้าดิฉันเสียชีวิต สามีจะได้รับมรดกอย่างไรบ้างคะ

  • 8 years ago

    เอาเป็นว่าความเข้าใจของผม ทรัพย์สมบัติที่ต่างฝ่ายต่างได้โดยทางมรดกหรือให้จากพ่อแม่ของแต่ละฝ่ายไม่เป้นสินสมรส นอกนั้นน่าจะอยู่ในสินสมรสที่ได้มาระหว่างสมรส ดังนั้น ต่างฝ่ายก็มีทายาท ก็รับกันไป เว้นแต่การสละให้แก่แต่ละฝ่าย

  • How do you think about the answers? You can sign in to vote the answer.
  • Anonymous
    8 years ago

    ไม่ได้ครับ ดูทรัพย์สินทั้งหมดทั้งชื่อคุณและสามีได้มาก่อนหรือหลังสมรสถ้าหลังคุณมีสิทธ์ทุกกรณีหรือตามที่ระบุไว้ครับ

  • komet
    Lv 7
    8 years ago

    แหม..ใจคอจะให้คนเฒ่าคนแก่ขึ้นโรงขึ้นศาลฟ้องร้องเเบ่งสมบัติ์ ก็แค่คุณภรรยา"แบ่ง"ให้ตามสมควรแด่ฐานะของพ่อแม่(ตีว่าเป็นค่าน้ำนม+เลี้ยงดูให้เติบใหญ่)ซิค่ะ,

    อย่างน้อยก็เพื่อตอบแทนคุณ แทนผู้ตาย(ซึ่งเป็นสามี) จะได้นอนตายแบบตาหลับไม่ต้องห่วงหาอาทรอีกต่อไป ,

    ฝ่านภรรยาก็ได้คำยกย่องสรรเสริญความดี ความมีน้ำใจเผื่อแผ่จากผู้ใหญ่(พ่อแม่ฝ่ายชาย)ด้วยค่ะ,

    แม้คนไม่เห็น เทวดานางฟ้าเทพก็สรรเสริญ ส่งผลให้กิจการงานก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองไงค่ะ..

Still have questions? Get your answers by asking now.