Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

คุณว่า"กาย"กับ"จิต"อย่างไหนสำคัญกว่ากันครับ?

คนจะประกอบขึ้นด้วยกายและจิตก็ยังสงสัยว่าใครจะสำคัญกว่ากัน

ขอให้แจงด้วยพื้นฐาน,หลักการ,แนวคิดและวิธีปฏิบัตินะครับขอบคุณ

2 Answers

Rating
  • 1 decade ago
    Favorite Answer

    กายไม่ได้สำคัญ "เท่ากับ" จิต

    และจิตก็ไม่ได้สำคัญ "เท่ากับ" กาย

    เพราะ "จุดเด่น" ของแต่ละอย่างนั้น "แตกต่างกัน" มันจึง "สำคัญไม่เท่ากัน"

    บางสถานะ "กาย" จะสำคัญกว่า "จิต"

    เราจึงแสวงหา "ธรรมกาย" (แหล่งที่รวมของธรรมทั้งปวง)

    แต่บางสถานะ "จิต" ก็สำคัญกว่า "กาย"

    เราจึงแสวงหาสภาวะของ "นิพพาน" (อิสรภาพทางจิตเท่านั้น)

    โดยจะขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบเป็น 2 กรณี เช่น

    กรณีที่ 1 "กาย" สำคัญกว่า "จิต"

    "กาย" สำคัญกว่า "จิต" ถ้าผู้ตอบนั้นยังอยู่ในสภาวะของ "โลกธรรม"

    เพราะผู้ที่ยังอยู่ในสภาวะ "โลกธรรม" จะเข้าใจว่า "ธรรมะ" คือ "ธรรมชาติ" จึงให้คำนิยามครอบคลุมไว้ 4 ประการ คือ

    (1) "ธรรมะ" คือ "ตัว" ของธรรมชาติ

    เขาจึงปฏิบัติตัวให้ "สอดคล้อง" กับ "ตัว" ของธรรมชาติ

    (2) "ธรรมะ" คือ "กฎ" ของธรรมชาติ

    เขาจึงปฏิบัติตัวให้ "สอดคล้อง" กับ "กฎ" ของธรรมชาติ

    (3) "ธรรมะ" คือ "หน้าที่" ที่ต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ

    เขาจึงปฏิบัติตัวให้ "สอดคล้อง" กับ "หน้าที่" ของธรรมชาติ

    (4) "ธรรมะ" คือ "ผล" ต่าง ๆ ที่เกิดจากการกระทำหน้าที่นั้น ๆ

    เขาจึงปฏิบัติตัวให้ "สอดคล้อง" กับ "ผล" ของธรรมชาติ

    กรณีที่ 2 "จิต" สำคัญกว่า "กาย"

    "จิต" สำคัญกว่า "กาย" ถ้าผู้ตอบนั้นได้ข้ามพ้นสภาวะ "โลกธรรม" เข้าสู่ "โลกุตรธรรม" แล้ว

    เพราะผู้ที่อยู่ใน "โลกุตรธรรม" จะรู้แจ้งแทงตลอดว่า "ธรรมะ" นั้นอยู่เหนือ "ธรรมชาติ" ทั้ง 4 ประการ เช่น

    (1) "ธรรมะ" ไม่ใช่ "ตัว" ของธรรมชาติ

    เพราะวิธีปฏิบัติเพื่อ "หลุดพ้น" ต้องใช้ "ตัวตน" ของธรรมะดับ "ตัวตน" ของธรรมชาติ

    (2) "ธรรมะ" ไม่ใช่ "กฎ" ของธรรมชาติ

    เพราะวิธีปฏิบัติเพื่อ "หลุดพ้น" ต้องใช้ "กฎ" ของธรรมะดับ "กฎ" ของธรรมชาติ

    (3) "ธรรมะ" ไม่ไช่ "หน้าที่" ที่ต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ

    เพราะวิธีปฏิบัติเพื่อ "หลุดพ้น" ต้องใช้ "หน้าที่" ของธรรมะดับ "หน้าที่" ของธรรมชาติ

    (4) "ธรรมะ" ไม่ไช่ "ผล" ต่าง ๆ ที่เกิดจากการกระทำหน้าที่นั้น ๆ

    เพราะวิธีปฏิบัติเพื่อ "หลุดพ้น" ต้องใช้ "เหตุ" ของธรรมะดับ "ผล" ของธรรมชาติ

    หมายเหตุ

    ถ้า "จิต" สำคัญกว่า "กาย" จริง

    ทำไม? ชาวพุทธส่วนใหญ่จึงแสวงหา "กาย" ( เล็งถึง "ธรรมกาย" ) มากกว่า "จิต" (เล็งถึง "มโนธรรม" ) เสียอีก

    เพราะฉะนั้น "จุดเด่น" จึงอยู่ที่แต่ละอย่างนั้น "สำคัญไม่เท่ากัน"

    บางสถานะ "กาย" จะสำคัญกว่า "จิต" เราจึงแสวงหา "ธรรมกาย" (แหล่งที่รวมของธรรม)

    แต่บางสถานะ "จิต" ก็สำคัญกว่า "กาย" เราจึงแสวงหาสภาวะของ "นิพพาน" (อิสรภาพทางจิต)

  • 1 decade ago

    จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว

    มองแง่หนึ่ง บ่าว ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สำคัญ

    ถ้าคนงานไม่ได้รับความยุติธรรม ประท้วง ไม่ทำงาน หรือเจ็บป่วย นายก็เดือดร้อน

    ฉะนั้น กาย กับ จิต จ��¸¶à¸‡à¸¡à¸µà¸„วามสำคัญทั้งคู่ สำคัญพอๆกัน ลักษณะเดียวกับ นายกับบ่าว

    กาย คือ ที่อยู่อาศัยของ ใจ หรือ จิต หรือ วิญญาณ

    ใจ จิต วิญญาณ คือ สภาวะหรือระดับความละเอียดของใจในระดับต่างๆ

    ใจ ทำหน้าที่รับรู้ อารมณ์จากภายนอกเข้ามากระทบกับใจภายใน แล้วทำให้ใจรู้สึกดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ ก็เรียกว่า ใจ

    จิต คือ คุณสมบัติทั้งหมดของใจ ไม่ว่าจะเป็น เห็น จำ คิด รู้ หรือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาประชุมรวมกัน

    ละเอียดกว่าใจ เรียกว่า "จิต" เช่น การเจริญสติปัฎฐาน 4 เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นต้น

    วิญญาณ คือ ตัวรู้ หรือตัวรับรู้ที่อยู่ในจิต ละเอียดกว่าใจ และละเอียดกว่าจิต เรียกว่า "วิญญาณ"

    ใจ จิต วิญญาณ ต่างกันด้วยความละเอียด และคุณสมบัติเหมือนกัน เพราะเรียกสั้นๆ ว่า "ใจ"

    กายกับใจเป็นของคู่กัน เมื่อมีกายก็ต้องมีใจลองรับเสมอ หรือที่ภาษาพระทั่วไปเรียกว่า "รูปนาม"

    มองอีกแง่หนึ่ง

    สุขหรือทุกข์นั้นอยู่ที่ใจ เราเป็นผู้กำหนด เริ่มต้นจากการควบคุมใจเราเองไม่ให้ติดอยู่ในความทุกข์และความสุขที่ไม่ใช่ของจริง และต่อไปเราก็จะรู้ได้เองว่า ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขอย่างไร กาย หรือใจคือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญมากกว่ากัน ใจหรือกายกันแน่ที่เป็นของเราจริงๆ หากเราควบคุมใจเราได้ โลกทั้งโลกก็เป็นของเรา ไม่มีอะไรที่เราต้องการอีกแล้ว

Still have questions? Get your answers by asking now.