Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

รัฐที่ล้มเหลวมีอะไรเป็นปัจจัย?

ฐที่ล้มเหลว หรือ (ภาษาอังกฤษ:Failed State) หมายถึง รัฐ ที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ดังเช่น ตูนิเซีย อีจิปต์และเยเมนแล้ว ปโดยเริ่มจากปัจจัยหนึ่งคือ การครองชีพ แล้วดำเนินไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง แล้วถ้าปัจจัยความแตกแยกทางความคิด

ความฉลาดที่อวดดีของพลเมือง เชื่อแต่แนวการเมืองที่ตัวเองเชื่อโดย ปราศจาก การแยกแยะส่วนดีและส่วนด้อยของความเชื่อนั้นผสมเข้าไปอีก

"มันจะทำให้ประเทศที่อยู่ในสภาวะนั้น เป็นปฎิกริยาที่เรางเข้าสู่สภาวะ รัฐที่ล้มเหลว เร็วขึ้นหรือไม่ครับ"

ข้อแจ้งเตือนกรุณาวิเคราะห์ด้วยสติ อย่าใช้ถ้อยคำก้าวร้าวและเปิดกว้างให้เพื่อนๆทุกฝ่ายครับ ขอเป็นคำถามการเมืองของผมเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ซึ่งต้องการเหตุผลจริงๆครับ

Update:

จัดอันดับประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ 177 ประเทศ ในปี 2009 ประเทศไทยได้คะแนน 79.2 อันดับที่ 79 อยู่ในกลุ่มเตือนภัย (Warning) ถ้าได้เพิ่มอีก 10 คะแนน จะอยู่ในกลุ่มประเทศ รัฐล้มเหลว ปีที่แล้วมีจลาจลในช่วงเมษายนแล้วรัฐจัดการได้ยังแสดงให้เห็นว่ารัฐมีอำนาจในการจัดการปัญหา ปีนี้เลวร้ายกว่าปีที่แล้วมาก

ดัชนีชี้วัดว่าเป็น รัฐล้มเหลว วัดแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ารัฐใดเป็น รัฐที่ล้มเหลว จะเป็นข้ออ้างให้ประเทศมหาอำนาจสามารถเข้าแทรกแซง จัดการสถาบัน และจบด้วยการเลือกตั้งใหม่

น่ากลัวนะครับอย่าล้อเล่น เราต้องการการร่วมใจ แล้วนะครับ

10 Answers

Rating
  • ?
    Lv 6
    1 decade ago
    Favorite Answer

    ปัจจัยสาธารณะแห่งความล้มเหลว ว่ากันตั้งแต่รัฐ ชาติบ้านเมือง มาจนถึงหน่วยย่อยที่สุดคือมนุษย์ ก็คือความเห็นผิด เมื่อชีวิตเริ่มต้นจากความเห็นผิดเสียแล้ว ก็ดำเนินทุกสิ่งบนความเห็นแก่ตัว จะรู้หรือไม่ จะยอมรับหรือไม่ ปัญหาความวุ่นวายตั้งแต่ภายในจิตใจของคนหนึ่งคน ไปจนถึงความโกลาหลระดับนานาชาติ มีเมล็ดพันธุ์ก่อเกิดมาจากความเห็นผิดที่เติบโตเป็นความเห็นแก่ตัวทั้งสิ้น เห็นผิดว่ามีตัวเรา ก็ต้องเอาตัวเราให้รอด เมื่อต้องเอาตัวเราให้รอด แล้วทำได้ทุกอย่าง ดูถูกศีลห้าข้อ ความเห็นเช่นนี้มีการปลูกฝังโดยไม่ตั้งใจกันอย่างแพร่หลาย ทุกบ้านเมือง ทุกประเทศ ทุกทวีป

    ทุก ๆ การตัดสินใจ ทุก ๆ การกระทำ มาจากแรงขับเคลื่อนทั้งสิ้น เมื่อแรงขับเคลื่อนมีจุดหมายอยู่ที่ตัวเองเท่านั้น ความเดือดร้อนเกิดทันที

    จึงล้มเหลวตั้งแต่ความเห็นแล้ว

    และคำถามนี้ ไม่ได้จำ��ัดอยู่เพียงประเด็นการเมือง

    แต่เป็นเรื่องราวความเป็นไปของมนุษยชาติ

  • 1 decade ago

    ไม่เห็นด้วย ที่คำถามนี้ จะเป็นคำถามการเมือง ที่เป็นประโยชน์ คำถามสุดท้ายของเฮียลอร์ดนะครับ

    ต้นไม้สวย ต้นไม้งาม ปลูกแยะๆสิครับ ใช้ร่มเงาบดบังต้นตำแย ต้นมัยราพ ก็ยังดี เหอๆๆๆๆ

    ***************************************************************************************************************

    แล้วถ้าปัจจัยความแตกแยกทางความคิด

    ความฉลาดที่อวดดีของพลเมือง

    เชื่อแต่แนวการเมืองที่ตัวเองเชื่อโดย

    ปราศจาก การแยกแยะส่วนดีและส่วนด้อยของความเชื่อนั้นผสมเข้าไปอีก

    "มันจะทำให้ประเทศที่อยู่ในสภาวะนั้น เป็นปฎิกริยาที่เรางเข้าสู่สภาวะ รัฐที่ล้มเหลว เร็วขึ้นหรือไม่ครับ"

    **********************************************************************************************************

    ตอบ :

    ปัญหารัฐล้มเหลว มันเป็นเหมือนถามเรื่องช้างน่ะครับ

    เพราะส่วนประกอบให้เกิดให้เป็น มันมากมายหลายสถาน

    แต่ส่วนใหญ่แล้ว มันก็มาจากการไร้ความสามารถของรัฐบาลนั่นเอง

    (ใช้ปืนใช้ทหารคุมประชาชนให้สงบอยู่ได้ตั้ง 30 ปี ก็ถือว่ามีเสถียรภาพนานนะครับ)

    คนตอบในรู้รอบ ส่วนใหญ่ก็คือคนตาบอด แล้วให้มาคลำช้าง เนื่องจากวุฒิคุณ

    อ่านข่าวจากด้านเดียว วิเคราาะห์ข่าวแบบลูกนก ที่ได้อาหารจากการย่อยแà¸��้วของพ่อแม่นก

    ที่สำคัญและเป็นข้อยากลำบาก ก็คือ ยาหูมีเนื้อที่น้อย การจัดหน้าของคำตอบ คำถาม อ่านยาก

    ทำให้สับสน แม้แต่คนตอบเอง ก็วางวรรคตอนของคำพูดให้กระชับได้ยาก

    เข้าเรื่อง

    ถ้าเอาตูนิเซีย อียิปต์ เยเมนมาเป็นตัวอย่าง และคำถามของเฮียลอร์ด เจาะจงถึงผลกระทบประเทศไำทย

    มันคงมีทั้งต่างกันและเหมือนกัน แล้วแต่ว่าจับประเด็นใดมาพูด

    1)เรื่องของความอดอยาก อันเป็นสาเหตุของการออกมาเดินบนท้องถนน มอรอคโค ตูนิเซีย แอลจีเรียเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าประเทศอัฟริกาอื่นๆ ประชาชนในสามประเทศ รู้ภาษาต่างประเทศถึงสามภาษา คืออาหรับ-ฝรั่งเศส-อังกฤษ แต่ก็ยากจนกว่าตุรกี มีประชาธิปไตยน้อยกว่า ประชากรส่วนใหญ่หวังจะได้ออกนอกประเทศไปทำงานที่ยุโรป(ส่วนใหญ่อยากไปฝรั่งเศส) แทนที่จะขวนขวายตั้งหน้าทำมาหากินเอาเอง

    ---ประเทศไทยไม่อดอยาก(แต่ผู้คนเป็นหนี้มากจากความฟุ้งเฟ้อชื้อและบริโภคสิ่งที่จำเป็นน้อย สิ่งไม่จำเป็นมาก จะเห็นโฆษนาขายรถ ไม่เคยชูประโยชน์ แต่พูดถึงความหรู เหมือนมนุษย์)

    ชาวบ้านธรรมดา(อย่างน้อยสมัยที่ผมมีชีวิตอยู่ในสวน)ต้องถอนต้นขนุน ต้นมะม่วงริมบ้านทิ้ง

    เพื่อไม่ให้ต้นของมันดันหลังคาบ้านพัง เราไม่อดอยาก แต่เรา"อยาก"ในสิ่งที่โดนล่อด้วยโฆษณา

    ราคาข้าวสูง พ่อค้าข้าวจะรวยและมีอิทธิพลมาก ชาวนาไทยยังยากจนเหมือนเดิม

    ผลิตผลการเกษตร ส่งอกนอกได้ แม้แต่ใบกะเพราโหระพา แต่ก็ต้องหยุดส่งไว้ก่อน

    เพราะโดนเตือนเรื่องมียาฆ่าแมลงแยะ สินค้าขายได้ แต่วุฒิภาวะของคนที่จะให้ความรู้มันเกินเลขสูญนิดเดียว จึงทำให้ขายไม่ได้ เหมือนเรื่องแป้งมันสำปะหลังเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ที่ส่งดินส่งหินไปให้เขา..ทำแบบนั้นเพื่ออะไร?

    2)โลกมุสลิมดังเอ่ยมาข้างต้นหลายà¹��ประเทศ เป็นเผด็จการโดยใช้หนังประชาธิปไตยหุ้มตัวเอาไว้

    ด้วยระยะเวลาอันยาวนานกว่า 30 ปี โดยมีโลกตะวันตกสนับสนุนขาย/ให้ฟรี อาวุธเพื่อกดขี่ประชาชน

    ข้อแม้มีเพียงให้กีดกันมุสลิมหัวรุนแรง ไม่ให้ก่อหวอด ทั้งในประเทศมุสลิมเอง เพื่อจะไม่ลามออกไป

    ถึงโลกตะวันออก

    --ของไทยมีสมัยเดียว(หรือสามสมัยฯ ติดต่อกัน?) คือ สฤษดิ์-ถนอม-ประพาส แต่รวมแล้วก็ไม่ถึง 30 ปี

    เพราะนักศึกษาฯ และเหตุการณ์เหมือนอียิปต์ตอนนี้มาก แต่ผลสุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ เพราะกลลวงของนายพลคนเจนสังเวียน หาคำตอบกันเอาเองนะครับ และเรื่องสามนายพล ก็ผ่านมาใกล้จะ 40 ปีแล้ว

    3)เรื่องแตกแยกทางความคิด ในอียิปต์และฯลฯ ก่อนหน้าวันที่ 24 มกราคม 2554 ไม่มีความแตกแยก

    เพราะไม่มีใคร ส า ม า ร ถ แสดงความคิดเห็นได้โดยไม่โดนจับกุมและหายสาบสูญไป

    (ทีวี อัลจาเซรา ทำสคริ๊ปรายงาน เรื่องการทำทารุณกรรมต่อนักโทษการเมืองเมื่อปลายปี 2553)

    --ประเทศไทยสามารถจาบจ้วงราชวง"ได้"(ทั้งๆที่ผิดกฏหมาย) คำว่า"ได้" หมายถึงไม่มีผู้รักษากฏหมายจัดการอย่างจริงจัง การตำหนินายกฯ การตำหนิอดีตนายกฯ ทำได้โดยเสรี แม้ข้อมูลที่มี ที่นำมาโจมตีด่าทอ

    จะเป็นเท็จก็มีคนเห็นด้วย คนที่เห็นด้วยก็รู้ว่ามันเป็นเท็จ

    แต่ส่วนมาก ออกมาในรูปของการเยาะเย้ยถากถาง มากกว่าจะได้ประโยชน์ในกา่รนำไปแก้ไขปรับปรุง

    ตัวนายกฯให้ดีขึ้น

    สำหรับผม

    บ่อยครั้งที่อ่านคำถาม คำตอบลูกสมุนทักษิณ จะบิดเบือนแก้ตัวแทนเจ้านาย

    อดใจไว้ไม่ได้ก็ออกมาตอบโต้และบา่งครั้งก็สกปรกกว่้าที่พวกเขาทำกัน

    อยากเห็นแนวทางแก้ไขการเมืองไทย การบีบบังคับให้สส.ทำตามกรอบและเงื่อนไขในอนาคต

    แต่ไม่ใช่สนับสนุนให้เกิดความวุ่นวาย ดึงเรื่้องโย้เย้กลายว่าเป็นความถูกต้อง แบบที่เราเห็นอยู่

    มาสร้างความเดือดร้อนให้คนไทยกลุ่มอื่น ที่เขามิได้สนับสนุนใครเลย พาลหาเรื่อง เพราะนึกแบบโบราณว่า

    การข่มขู่ให้เกิดความกลัว จะทำให้คนยอมมาเป็นพวกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ฝ่ายต่อต้านมีมากขึ้น

    และมาจากผู้เสียหายทางเศรษฐกิจ ทางการงาน มากกว่าจากคนที่สนใจทางการเมือง

    .

    ผมไม่คิดว่า การแตกแยกทางความคิดแบบที่เรามีอยู่นี้จะทำให้ไทย ถึงกับเป็นรัฐล้มเหลว

    แต่ความยากจนในระดับล่าง มีเพิ่มมากขึ้นแน่นอน จากการใช้จ่ายเกินตัว

    จากความมั่นใจในการลงทุนทั้งในประเทศเองและจากต่างประเทศจะลดน้อยลง

    คนมันทะเลาะกัน ใครจะมีแรงทำงาน ไม่ว่าฝ่ายไหน

    และฝ่ายไหนมันก่อเรื่อง ก็แล้วแต่มุมมองอีกใช่ไหมครับ?

    พูดออกมาจะมีประโยชน์อะไร มีคนไม่เห็นด้วย และเห็นด้วย

    แต่ฝ่ายไหนมากกว่า จะเอาอะไรมาวัด

    แล้วฝ่ายมากกว่า เป็นฝ่ายถูกต้องกว่าหรือเปล่า?

    ดูกาลิเลโอ ดูเคปเลอร์ ดูแวเนอร์ วอน บราวน์ ดูฮิตเล่อร์ ดูสตาลิน ดูกอร์บาชอฟ สมัยรุ่งเรืองชื่อเสียงและอำนาจ

    แล้วมาดูสมัยนี้ บลา..บลา..บลา..

    ขอบคุณครับ

  • 1 decade ago

    เอาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิเลยนะคะ..ความเชื่อเป็นบ่วงโซ่ที่สามารถถ่ายทอดกันได้ทางบรรพบุรุษ เรื่องการจะมองอะไรในด้านแยกแยะเป็นสิ่งที่ถูกเอามือปิดตาตั้งแต่เกิดก็มีส่วนหนึ่งที่ทำให้การเมืองล้มเหลวได้เช่นกัน มันมาจากตัวบุคคลเป็นตัวขับเคลื่อนในเรื่องแนวทางความคิด ความเหลื่อมล้ำ ปัจเจกบุคคลส่วนตัวสูง วิสัยทัศน์ของประชาชน และการคอรัปชั่น หากเราสามารถเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของประชาชนได้ รัฐก็อาจสามารถบริหารโดยมีกฏหมายที่เข้มแข็งไว้ปกครองคนในชาติได้ บุคคลคะ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เป็นกลไกสำคัญที่ชี้ขาดความล้มเหลวของรัฐได้.......

  • ?
    Lv 5
    1 decade ago

    ปัจจัยสำคัญของรัฐ คือผืนแผ่นดิน และประชาชน

    ผืนแผ่นดิน เคยถล่มประเทศà¸��าแล้ว แต่ไม่บ่อยเท่าประชาชน

  • How do you think about the answers? You can sign in to vote the answer.
  • 1 decade ago

    หนึ่งได้ผู้นำที่ที่ไม่ดีมาปกครองบ้านเมือง สองผลประโยชน์ของนักการเมืองและการคอรัปชั่น สามกระบวนการยุติธรรม สี่การศึกษาของประชาชน

  • SATAN
    Lv 6
    1 decade ago

    กฏหมายใช้บังคับกับประชาชนทุกคนไม่ได้ ความเหลื่อมล้ำ ความไม่ยุติธรรม

  • 1 decade ago

    ตอบสั้นๆ เพราะคณะทีมเวิร์ค (คณะรัฐมนตรี) เหมือนกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมต้องสามัคคีเพื่อทีม....เราจะไม่เคยได้ยินคำว่า "รัฐสำเร็จ" คำว่ารัฐล้มเหลว จะคุ้นมากกว่า ทีมเวิร์คมีหลายหน้าที่เหมือนหลายกระทรวง ถ้าจุดไหนบอดหมายถึงความล้มเหลวของจุดนั้นหรือกระทรวงนั้นๆ....ยากค่ะสำหรับคำว่า "รัฐสำเร็จ"

  • 1 decade ago

    คิดว่ารัฐ ก็เหมือนองค์กร และเหมือนคนทั่วไป

    ถ้าไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้

    คือมุ่งที่จะคิดแบบเดิมทำแบบเดิม ทั้งที่โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน

    ก็ย่อมล้มเหลวได้ทั้งนั้นค่ะ ไม่ว่าจะเป็นคน องค์กร หรือรัฐ

  • ขอตอบตามความเข้าใจนะครับ

    1.ไม่สามารถปกป้องอธิปไตย ของชาติไว้ได้

    2.ไม่สามารถจัดสรรค์สิ่งต่างๆ ให้กับประชาชนได้อย่างเท่าเทียม

    เพื่อลดความเหลื่อมล้ำลงได้...และ

    3.ไม่สามารถจัดการกับปัญหา คอร์รับชั่น หรือทำให้การคอร์รับชั่น เบาบางลงได้...

    แต่ทุกๆสิ่งย่อมมีองค์ประกอบ ที่หลากหลายครับ

    ไม่ใช่แค่เหตุปัจจัยเดียว อย่าดูที่ปลายเหตุ ต้องแสวงหาต้นเหตุให้เจอ

    และค่อยๆแก้ไขไปทีละเปลาะ หรือพูดง่ายๆ เกาให้ถูกที่คันครับ...

  • 1 decade ago

    สั้นๆ ง่ายๆ ตามแนวพระราชดำรัส

    " ใครมีหน้าที่ทำอะไร ก็ทำให้ดีที่สุด"

    ทหาร มีหน้าที่ปกป้องประเทศ ใช่มั้ย???

    รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขประชาชน แล้วทำอะไรบ้างล่ะ??????

    ไม่ใช่ ขยิบตาให้พวกพ้องตนเองสุขสบาย

    ประชาชน มีหน้าที่ทำมาหากิน เสียภาษี และรักผืนแผ่นดินเกิดเท่าชีวิต

    แผ่นดินที่ให้เราเกิด ให้เราทำมาหากิน และเป็นผืนดินที่ให้ลมหายใจสุดท้าย

    หากทำได้เท่านี้ ประเทศนี้คงน่าอยู่กว่านี้นะ

Still have questions? Get your answers by asking now.