Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

โยนกนคร ล่มสลายเพราะแผ่นดินไหวจริงหรือไม่?

เมืองเชียงแสน จ.เชียงราย มีหนองน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เวียงหนอง ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของเมืองโยนกนครแต่ต้องล่มสลายไปด้วยแผ่นดินไหวตามตำนานที่เล่าต่อๆกันมา

จากรายงานที่อ้างอิงจากพงศาวดาร เล่าถึงเหตุการณ์นี้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ.1003

"...สริยาอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียงเหมือนดั่งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว ประดุงดังว่าเวียงโยนกนครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังนั้นไปแล แล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง ครั้งถึงมัชฌิมยามก็ซ้ำดังมาเป็นคำรบสองแล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้ำดังอีกเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมา กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลงเกิดเป็นหนองอันใหญ่..."

จนเมื่อ พ.ศ. 2546 มีภาพถ่ายดาวเทียมศึกษาถึงเวียงหนอง ปรากฏว่าพบแนวรอยเลื่อนเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยาแสดงถึงการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก แต่ก็ยังไม่ได้ยืนยันว่าเมืองโยนกนครดังกล่าวคือเวียงหนองจริงหรือไม่ ...

ผมจึงอยากได้อ้างอิงเพิ่มเติมหรือจากคนที่มีความรู้ช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยครับ :)

(ข้อมูลอ้างอิงจาก : A Natural Disaster Survival Guide - History of Natural Disaster)

2 Answers

Rating
  • Favorite Answer

    ขอเล่าเรื่อง เมืองล่มอีกแห่งแล้วกันเพื่อเทียบเคียงนะคะ เมื่อปีกว่า ๆ เพิ่งไปที่เวียงหนองล่ม ที่จ.เชียงราย มาค่ะ จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เขาสำรวจไว้แล้ว และปรับแต่งให้เราเห็นได้ชัด จะเห็นตัวเมืองโบราณก่อนที่จะล่มลงไป จะอยู่ต่ำกว่าแผ่นดินปัจจุบันมากค่ะ คนแต่ก่อนจะไม่เข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว เรื่องภัยธรรมชาติ พอมีอะไรที่ตอบไม่ได้ ก็จะมีการผูกโยงเป็นนิทานพื้นบ้านมีอิทธิปาฎิหารย์ (นิทานพื้นบ้านของที่นั่นจะเป็นเรื่องปลาไหลเผือก ที่ถูกจับมาแล้วทำอาหารแจกจ่ายกันกินทั้งเมือง เว้นแต่แม่ม่ายคนหนึ่งที่ไม่ได้รับอนุญาตให้กิน ซึ่งสมัยก่อนจะถือว่าหญิงม่ายเป็นคนที่อยู่ในระดับต่ำ คล้าย ๆ จะเป็นกาลกิณี จึงไม่ให้กิน ตกกลางคืน ๆ นั้นก็เกิดเหตุการณ์เมืองทั้งเมืองล่มจมลงไป เหลือไว้แต่บ้านหญิงคนนั้น (ปัจจุบันป็นวัด) ซึ่งไม่ได้กินปลาไหลเผือกด้วยทางอีสานก็มีเรื่องแผ่นดินไหว เมืองล่มและเกิดเป็นนิทานเรื่องกระรอกด่อนเรื่องหนองหานเช่นกัน ที่กระรอกด่อนเป็นลูกพญานาคปลอมตัวมาเป็นกระรอกด่อน(คือ กระรอกเผือก)เพราะมาหลงรักลูกสาวเจ้าเมือง แต่ถูกฆ่าตายและแล่เนื้อแบ่งกันกิน เว้นแต่บ้านหญิงม่ายที่ไม่ได้กินเช่นกัน ซึ่งเป็นการหาคำตอบให้กับตนเองถึงสิ่งที่ไม่เข้าใจของคนโบราณ) จากความรู้ทางภูมิศาสตร์ปัจจุบัน ทำให้ทราบว่า เมืองเวียงหนองล่มที่เชียงราย ตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนของแผ่นดินที่อยู่แนวเดียวกับพม่าในพม่าค่ะ

    ขอโทษด้วยค่ะ ช่วงนี้ออกทำงานข้างนอกกว่าจะกลับเข้ามากทม.เต็ม ๆ คงเดือนหน้า เลยมาตอบเพิ่มช้าไปนิด จากคำถาม คุณคงไม่อยากได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และตำนาน แต่คงอยากทราบเรื่องสาเหตุการล่มสลายของอาณาจักรนะคะ

    เวียงหนองล่ม จากข้อมูลทางโบราณคดีสันนิษฐานกันว่า คือโยนกนคร มีอาณาเขต ๕ ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่บริเวณทะเลสาบเชียงแสนหรือหนองบงกาย อยู่ในเขตติดต่อระหว่าง ต.โยนก อ.เชียงแสน กับ ต.จันจว้า อ.แม่จันได้มีการสำรวจพื้นที่เวียงหนองล่มหลายครั้ง มีข้อสรุปเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    - หลักฐานจากการสำรวจอยู่ในยุคหินใหม่ ไม่เกินพุทธศตวรรษที่ ๑๙ สภาพของเวียงหนองเกิดจากสภาพของแผ่นดินที่ลอยขึ้นเหนือน้ำ ซึ่งเกิดจากการทับถมของวัชพืชที่ชาวบ้านเรียกว่า ปึ๋ง ซึ่งปึ๋งที่ว่านี้วัวควายลงไปหากินและชาวนาก็ทำไร่ทำนาบนนั้นได้ได้ จากการสำรวจ พบบ่อน้ำพุร้อนกลางปึ๋งที่ปกคลุมหนาแน่น

    - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวินิจฉัยว่า บริเวณเวียงหนองล่ม ยุคก่อนที่มนุษย์จะมาตั้งถิ่นฐานเคยเป็นปล่องภูเขาไฟระเบิด ซึ่งทางธรณีวิทยาคงเกิดปฏิกิริยาจากความร้อนใต้ผิวโลกบ่อยครั้ง ประกอบกับการพิจารณาการเกิดแผ่นดินไหวโดยดูจากการขยายตัวของ "ปึ๋ง" นับแต่ พ.ศ.๑๐๐๐ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นช่วงที่เมืองถล่ม จนถึงพ.ศ.๒๕๐๐ สรุปข้อสันนิษฐานได้ว่า พระเจ้าสิงหนวัติคงจะสร้างเมืองขึ้นบนแผ่นดินที่เกิดขึ้นบนพื้นน้ำที่ขังบนแอ่งใหญ่แห่งนี้

    - ด้านการสำรวจทางโบราณคดีใต้น้ำ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ไม่สำเร็จนักเพราะเวียงหนองกว้างใหญ่มาก

    - จากแผนที่ทางธรณีวิทยา พบรอยเลื่อน [FAULT]๒ รอยที่น่าจะส่งผลกระทบให้เมืองล่ม คือ

    ๑.รอยเลื่อนที่พาดยาวจาก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ผ่านตอนใต้ของแอ่งแม่สาย ผ่านเชียงแสน ไปยัง ม.โขง และเลยเข้าไปในประเทศลาว

    ๒.รอยเลื่อนที่พาดยาวจาก จ.แม่ฮ่องสอน ผ่านตอนเหนือของแอ่งเชียงใหม่ ต่อเนื่องกับตอนเหนือของแอ่งเชียงราย ไปบรรจบแนวที่ ๑ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเวียงหนองล่ม

    โดยสรุป เมืองนี้ที่ล่มลงไป เนื่องจากสร้างเมืองลงบนพื้นที่ ๆ เป็น "ปึ๋ง" ที่เกิดอยู่กลางหนองน้ำที่อยู่ในปล่องภูเขาไฟเดิมซึ่งดับไปแล้ว ซึ่งปึ๋งนั้นเป็นพื้นที่ ๆ ไม่มั่นคงอยู่แล้ว ประกอบกับเมืองยังตั้งอยู่บนรอยเลื่อนสองแห่ง เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมืองจึงล่มลงไป

    ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่เข้าใจว่าคุณคงถามด้วย ว่าเมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน หรือ เมือง นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร(เป็นชื่อเมืองหลวง ของอาณาจักร ที่มีชื่อว่า อาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน หรือช้างแส่ง) นั้น ใช่เมืองเวียงหนองล่มหรือเปล่า ขอสรุปข้อมูลที่มีให้นอกจากที่ตอบไปแล้วตามนี้นะคะ

    ๑. จากตำนานและชื่อบ้านนามเมือง เมื่อเจ้าสิงหนวัติกุมาร ตั้งเมืองพันธุสิงหนวัตินครได้ ๕ ปี ทรงปราบได้ล้านนาไทยทั้งมวล ขยายอาณาเขตดังนี้

    ทิศตะวันออก มีแม่น้ำขรเป็นแดน

    ทิศตะวันตก มีดอยรูปช้างชุนน้ำย้อยมาหาแม่น้ำคงเป็นแดน

    ทิศเหนือ มีต้าง(เขื่อน)หนองแสเป็นแดน

    ทิศใต้ มีลวะรัฐเป็นแดน

    จากข้อมูลนี้และจากตำนานเรื่องปลาไหลเผือกมีผู้สันนิษฐานว่าหนองน้ำนั้นคือทะเลสาบเชียงแสนหรือหนองบงกาย หรือเวียงหนองล่มในองแม่จัน และมีภูมินามสถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งคนแต่ก่อนมักตั้งตามประวัติท้องถิ่นหรือตำนาน เช่น

    บ้านแม่ลาก หมายถึงตอนที่ชาวบ้านช่วยกันลากปลาไหลเผือก

    บ้านแม่ลัว (คงเลือนมาจาก คัว) หมายถึงตอนชำแหละเนื้อปลาไหลแบ่งกัน

    แม่น้ำกก หมายถึง ตัดเป็นชิ้น ๆ

    ๒. เมืองพันธุสิงหนวัตินครที่เป็นเมืองหลวงนั้น มีกษัตริย์ปกครอง ๔๐ พระองค์ และได้สร้างสิ่งสำคัญไว้ในอาณาจักรที่ยังเหลือมาถึงปัจจุบัน เช่น

    พระเจ้า อชุตราช กษัตริย์องค์ที่ ๓ สร้างพระธาตุเจ้าดอยตุง

    พระองค์เวา กษัตริย์องค์ที่ ๑๐ สร้างพระธาตุดอยเวา ที่แม่สาย เป็นต้น

    ๓.พ.ศ.๒๕๓๖ โครงการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน กรมศิลปากร ขุดตรวจในบริเวณสำนักสงฆ์พุทธทศพลญาณ บน เกาะแม่ม่าย พบวัตถุโบราณเล็กน้อยสันนิษฐานว่าอยู่ในยุคหินใหม่ไม่เกินพุทธสตวรรษที่ ๑๙ และพบว่าเวียงหนองนั้นตั้งบนพื้นที่ ๆ เรียกว่า ปึ๋ง ตามที่กล่าวมาแล้ว จากการสำรวจพบการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ดังนี้

    Source(s): - บนบก ด้านตะวันตกของหนองน้ำ พบหลักฐานการสร้างศาสนสถานขนาดเนื้อที่ ๕ ไร่ พบเครื่องมือยุคหินเก่าหินกลาง หินใหม่ สำริดเ หล็ก - ใต้หนองน้ำ ชาวบ้านเคยพบเสาไม้คล้ายเสาเรือนขนาดใหญ่ และเครื่งมืหีบน้ำอ้อย ๔. พ.ศ. ๒๕๓๗ โครงการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน ได้ประสานโครงการโบราณคดีใต้น้ำนำนักประดาน้ำมาสำรวจ แต่ไม่สำเร็จ เน่องจากเวียงหนองมีความกว้างใหญ่มาก ๕.เกาะดอนแท่นหรือเกาะหลวงซึ่งได้พงทลายลงในม.โขง และมีความไม่ชัดเจนเรื่องที่ตั้ง เคยมีการสำรวจหาที่ตั้งหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากกระแสน้ำเชี่ยวกรากและเย็นจัด ทัศนวิสัยเท่ากับ ๐ จึงไม่สามารถสำรวจได้โดยการดำน้ำ ประกอบกับแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนไทย - ลาว หากไม่ได้ขออนุญาตไปเป็นทางการก็สำรวจไม่ได้ จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ยกมาและจากหลักฐานทางโบราณคดีและภูมิศาสตร์ประกอบกับช่วงเวลาที่เมืองล่มตรงกันจึงทำให้เชื่อกันว่าเวียงหนองล่มน่าจะเป็นเมืองพันธุสิงหนวัตินคร
  • Anonymous
    1 decade ago

    จำได้ว่าเขามีนิทานพื้นบ้านเหล่าสืบกันมาว่ามีการจับปลาไหลเผือกยักษ์ได้แล้วมาทำอาหารแบ่งให้คนในเมืองกินแต่มีแม่อุ๋ยคนหนึ่งแกไปไม่ทัน พอตกดึกคืนนั้นน้ำก็ท่วมเมืองเหลือบ้านแม่อุ๋ยคนนั้นรอดคนเดียว ซึ่งเข้าใจว่าเป็นน้ำป่ามากกว่าแผ่นดินไหวนะเวลาน้ำป่าไหลมามันก็จะเกิดเสียงดังเหมือนกันนะ ซึ่งจากการสำรวจก็เชื่อว่ามีเมืองโยนกนครจริง ๆ

Still have questions? Get your answers by asking now.