Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.
Trending News
สิทธิ์ประกันสังคมกรณีคลอดบุตร?
คือสามีทำงานบริษัทได้ทำประกันสังคมไว้ซึ่งเป็นผู้ประกันตน
ส่วนดิฉันเป็นแม่บ้าน ตอนนี้ตั้งท้องได้สองเดือนแล้วค่ะ
อยากทราบว่า ถ้าคลอดบุตร ดิฉันจะมีสิทธิ์ขอเงินประกันสังคม ในฐานะภริยาของผู้ประกันตนหรือไม่ อย่างไรค่ะ
คือไม่ค่อยทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เลยอยากจะขอคำแนะนำจากเพื่อนๆเพื่อเป็นความรู้ต่อไปนะค่ะ
3 Answers
- เบนจี้Lv 59 years agoFavorite Answer
สำนักงานประกันสังคม แนะผู้มีสิทธิประกันสังคม ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร และรับเงินสงเคราะห์บุตรด้วย
สำนัก งานประกันสังคม (สปส.) แนะนำผู้ที่ได้รับสิทธิประกันสังคม หรือที่เรียกว่า ผู้ประกันตน โดยเฉพาะฝ่ายหญิงให้ทำการใช้สิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ด้วยการเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายได้เป็นเงิน 12,000 บาท รวมถึงมีเงินสงเคราะห์จากการหยุดงานเพื่อคลอดบุตรอีก 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย อีกเป็นเวลา 90 วัน นอกจากนี้ยังมีเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือนให้ด้วยเช่นกัน
ทั้ง นี้การเบิกค่าคลอดบุตรนั้น หากสามี-ภรรยา เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ แนะนำให้ใช้สิทธิของฝ่ายหญิงก่อน เนื่องจากจะได้รับสิทธิในการคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์จากการหยุดงานด้วย จากนั้นจึงค่อยใช้สิทธิของฝ่ายชาย เพราะคู่สามี-ภรรยา สามารถใช้สิทธิได้คนละ 2 ครั้ง แต่รวมแล้วไม่เกิน 4 ครั้ง
ซึ่งในการขอรับสิทธิของผู้ประกันตนนั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้
- การเบิกค่าคลอดบุตร ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันคลอด
- การเบิกค่าสงเคราะห์บุตรรายเดือน ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน
- ผู้ประกันตนหญิง วิธีการใช้สิทธิ ให้ยื่น แบบฟอร์ม สปส.2-01 พร้อมแนบหลักฐาน คือ สำเนาสูติบัตรของบุตร สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน
- ผู้ประกันตนชาย ใช้หลักฐานแบบเดียวกับฝ่ายหญิง แต่เพิ่มเติม สำเนาทะเบียนสมรส หรือ หนังสือรับรองบุตร (กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส) เพราะจะต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
Source(s): กรณีของคุณให้สามีไปยื่นเรื่อง หรือให้ฝ่ายบุคคลของบริษัทฯเดินเรืองใ้ห้ค่ะ - Anonymous9 years ago
คุณเบญจาตอบดีมากๆครับ
- 6 years ago
ภาวะคลอดก่อนกำหนด เรื่องเสี่ยงแม่และลูก
หากจะถามว่าในการตั้งครรภ์หนึ่งครั้ง คนเราใช้เวลานานเท่าไหร่ หลายคนคงตอบว่า 9 เดือน แต่สำหรับในทางการแพทย์แล้ว เราจะนับเป็นสัปดาห์ ซึ่งในการตั้งครรภ์หนึ่งครั้งจะใช้เวลา 40 สัปดาห์ หากคำนวณเป็นเดือน จะเท่ากับ 9 เดือนกับอีก 4 สัปดาห์นั่นเอง เราเรียกว่าเก้าเดือนเต็ม และในทางการแพทย์ เราให้นิยามการเจ็บครรภ์คลอดที่ครบกำ��นดคือตั้งแต่ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป เพราะฉะนั้นหากหญิงตั้งครรภ์รายใดมีภาวะเจ็บครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์ เราจะเรียกว่าเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด สามารถเกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีครรภ์แฝด หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติเกิดคลอดบุตรก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่พยาธิสภาพที่มดลูก เช่นมีเนื้องอกมดลูกขณะตั้งครรภ์ นอกจากปัจจัยเหล่านี้แล้ว ส่วนใหญ่ภาวะการเจ็บก่อนกำหนดจะเกิดจากพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์เอง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนัก การไม่ระมัดระวังตัวเองต่างๆ สรุปได้ว่า ควรหลีกเลี่ยงการสะเทือนทุกชนิด สำหรับอาการของการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์จะรู้สึกได้ว่ามีอาการหน่วงลงท้องน้อย มดลูกมีการแข็งตัว ทำให้หน้าท้องมีการแข็งตัวเป็นระยะๆ บางรายมีมูกปนเลือดออกมาด้วย หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการเหล่านี้ ก่อนกำหนดคลอดควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยด่วน ซึ่งหากเกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดจริง ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง