Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

ไขมันจากปลาน้ำจืดเช่นปลาทับทิม ปลาแรด มีประโยชน์หรือโทษไหมคะ?

ปลาสองชนิดนี้ตรงส่วนท้องจะมีมันมากค่ะ

ปลาจีนอีกชนิดก็มันมากเหมือนกัน

Update:

อยู่คนเดียว เหงามั้ยคะคุณนกแก้ว คริคริ

2 Answers

Rating
  • pop
    Lv 7
    8 years ago
    Favorite Answer

    ปลาน้ำจืดไทยมี โอเมก้า3 มากกว่าปลาทะเลเสียอีก‏

    คุณรู้จักพวกเอสกิโมไหม ที่พวกนี้อยู่ในน้ำแข็ง หน่าวเหน็บแถบขั้วโลกเหนือ แน่นอนว่าพวกนี้จะหาหมู หมา

    กา ไก่ มากินนะ เป็นไปไม่ได้ วันๆก็กินแต่ปลาละครับ และเน้นไปที่ไขมัน ของมันซะด้วย เช่น เปลวมันของปลาวาฬ

    ทำให้บรรดาเอสกิโมแก้มยุ้ยหน้ารักกันทั้งนั้น นักวิจัยได้พบเรื่องประหลาดว่าแทนที่พวกเอสกิโมซึ่งกินไขมันเป็นล่ำเป็นสัน

    จะเป็นโรคไขมันจุกอกตาย ปรากฎว่าชาวเอสกิโมเป็นโรคหัวใจกันน้อยมาก น้อยขนาดที่ว่าเมื่อเทียบกับ คนอเมริกันทั่วไปแล้ว

    ราคาต่อรอง อยู่ที่ 1 : 40 ทีเดียว ที่มันน้อยกันได้ขนาดนี้ก็เพราะ เจ้าโอเมก้า-3 พระเอกของท้องเรื่องในวันนี้แหละครับท่าน

    สาเหตุหลักมาจากโอเมก้า-3 นี้ จะทำให้เลือดแข็งตัวช้าและไม่ข้น ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด แถมยังสร้างสารที่ทำให้เส้นเลือด

    ขยายตัวได้ดี จึงลดความเสี่ยงจากการที่โรคหัวใจขาดเลือดได้

    โอเมก้า-3 มีดีที่ตรงไหน? ตอบ โอเมก้า-3 เป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid)

    ที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ สารสำคัญที่อยู่ในตัวมันมี 2 ตัว คือ Eicosopentaenoic และ Docosahexaenoic เป็นไงละครับ

    อ่านกันออกไหม ที่ไม่เขียนเป็นภาษาไทยเพราะกลัวอ่านผิดเหมือนกัน

    และอย่าจำเลยชื่อยาวขนาดนี้ มันมีชื่อย่อครับ เป็นตัวอักษร เหมือนนักการเมืองที่ชอบเล่นชื่อย่อกัน

    เราเรียกมันง่ายว่า เจ้า EPA และ DHA คุ้นๆบางหรือยัง

    โดยปกติร่างกายของเราจะผลิตสารกลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมน ชื่อ Eicosanoids สารกลุ่มนี้เกี่ยวข้องในการควบคุม

    ระบบแข็งตัวของเลือด การหดตัวของหลอดเลือด และการหดตัวของ กล้ามเนื้อเรียบ สารนี้ยังจำเป็นในกรณีที่ร่างกายเกิดการอักเสบ

    เพราะต่อสู้กับเชื้อโรคหรือความผิดปกติต่างๆ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต Eicosanoids นี้ก็คือ กรดไลโนเลอิก และ โอเมก้า-3

    เรานี้แหละครับ แต่หากร่างกายเรามีสัดส่วนของไลโนเลอิกมากกว่า โอเมก้า-3 ร่างกายของเราจะมีปัญหาเกี่ยวกับลิ่มเลือดแข็งตัว

    ปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน และข้ออักเสบ

    นอกจากเรื่องของโรคหัวใจแล้ว ยังมีรายงานที่ส่งเสริมการรับประทานปลาทะเลซึ่งมีโอเมก้า-3 สูง ว่าทำให้เป็นโรคหอบหืดน้อยลง,

    อัตราการเกิดโรคข้ออักเสบ ชนิดรูห์มาตอยต์ต่ำลง, อาการเจ็บปวดในช่วงมีประจำเดือนลดลง, ปัญหาการตั้งครรภ์เป็นพิษต่ำลง

    และยังมีผลทำให้คนที่เป็น มะเร็งเต้านมมีอาการดีขึ้นอีกด้วย อะไรจะดีมากมายขนาดนี้

    โอเมก้า-3 นี้พบมากในปลาทะเล และสัตว์ทะเลอื่นๆ เช่นกุ้ง ส่วนสัตว์บกแทบไม่มีเจ้าโอเมก้า-3 อยู่เลย

    แต่จากการทำวิจัยในประเทศไทย ยังพบว่าปลาน้ำจืดของไทยเราบางชนิดมีปริมาณ

    ของเจ้าโอเมก้า-3 ไม่ได้ด้อยกว่าปลาทะเลเลย

    โดยเฉพาะที่มีมากที่สุดคือ ปลาสวาย

    เคยสงสัยกับคำพูดที่ว่า "กินปลาเยอะๆ แล้วจะฉลาด" ถ้ารู้จักโอเมก้า 3 แล้วละก็.. คุณจะได้รับคำตอบทันที

    แล้วโอเมก้า 3 คืออะไร?คำตอบง่าย ๆ ของโอเมก้า 3 คือ กรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ที่ร่างกายขาดไม่ได้

    โดยมีสารสำคัญ 2 ตัว ได้แก่ EICOSAPANTAENOIC ACID (EPA) และ DOCOSAHEXANOIC ACID (DHA) ซึ่งเป็นกรดไขมัน

    ที่สำคัญต่อโครงสร้าง การทำงานของสมอง ตับ ระบบประสาทเกี่ยวกับการเรียนรู้ และเรติน่า รวมทั้งยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

    และไตรเอธิลกลีเซอรอล ในพลาสมา เป็นต้น โดยจะพบในอาหาร จำพวกธัญพืช เมล็ดพืช ปลาทะเล ( แซลมอน แม็คเคอเรล ทูน่า )

    และสัตว์ทะเล รวมทั้งปลาน้ำจืดอย่างปลาสวาย เป็นต้น

    ปลาทุกชนิด จะจัดว่ามีค่าไขมัน และพลังงานต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแล้ว อย่างไรก็ตาม ชนิดของปลายังมีผลต่อปริมาณไขมันของปลาที่มีอยู่ในเนื้อปลาสด ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกทานตามความ เหมาะสม เราสามารถจัดแบ่งชนิดของเนื้อปลาสด ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

    1.ปลาที่มีไขมันต่ำมาก (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาไหล ปลากราย ปลานิล ปลากะพงแดง และปลาเก๋า

    2.ปลาที่มีไขมันต่ำ (มากกว่า 2-4 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาทูนึ่ง ปลากะพงขาว ปลาจะละเม็ดดำ และปลาอินทรี

    3.ปลาที่มีไขมันปานกลาง (มากกว่า 4-8 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาสลิด ปลาตะเพียน และปลาจะระเม็ดขาว

    4.ปลาที่มีไขมันสูง (มากกว่า 8-20กรัมต่อ 100 กรัม) ส่วนมากมีเนื้อสีเหลือง ชมพูหรือเทาอ่อน ได้แก่ ปลาช่อน ปลาสวาย ปลาดุก และปลาสำลี

  • Akiko
    Lv 7
    8 years ago

    อยากสุขภาพดีต้องกิน ป.ปลา

    อาหารเพื่อสุขภาพ”อย่าง เช่นปลา จะมีสารอาหารจำพวกโปรตีนที่ย่อยง่าย และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไขมันจะมีอยู่บ้าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของปลา อย่างในปลาน้ำจืด จะมีไขมันไม่มากนัก ส่วนปลาทะเล ก็จะมีไขมันอีกประเภท ซึ่งจะแตกต่างจากปลาน้ำจืด พวกที่เป็นกรดไขมัน ซึ่งเป็น”ประโยชน์”ต่อ ร่างกาย เราพบว่า มันมีคุณค่าในแง่ของการลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และอาจจะช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือไขมันในเลือดสูง นอกจากนั้น เครื่องใน ตับปลา ก็จะมีน้ำมันและวิตามิน ในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน เป็น “วิตามิน” A D E K และ แร่ธาตุ โดยเฉพาะในตัวปลาบางชนิด ที่เรารับประทานได้ ก็จะได้แคลเซียมด้วย ดังต่อไปนี้

    1. ในเนื้อปลามีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นโปรตีน ซึ่งในเนื้อปลา จะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไขมันจะมีอยู่บ้าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของปลา อย่างในปลาน้ำจืด จะมีไขมันไม่มากนัก ยกเว้นพวกปลาสวาย หรือปลาสลิดตากแห้ง ส่วนปลาทะเล ก็จะมีไขมันอีกประเภท ซึ่งจะแตกต่างจากปลาน้ำจืด พวกที่เป็นกรดไขมัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ”ร่างกาย” เราพบว่า มันมีคุณค่าในแง่ของการลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และอาจจะช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ ด้วย

    2. ประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็จะได้โปรตีน เพราะโปรตีน เพราะโปรตีนในเนื้อปลา จะย่อยง่าย มีคุณค่าในแง่ของการบำรุง สมอง การพัฒนาสมองในเด็ก โดยเฉพาะปลาทะเล นอกจากจะได้โปรตีนแล้ว ยังจะได้แร่ธาตุไอโอดีน จะมีบทบาทในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะที่ไกลจากทะเล ก็จะมีความเสี่ยงก็จะเกิดโรคคอพอก ในกลุ่มผู้สูงอายุก็เป็นแหล่ง”โปรตีน” ที่รับประทานง่าย ย่อยง่าย ก็จะเป็นประโยชน์ของปลา

    3. การรับประทานปลาให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกาย

    - รับประทานปลาที่ปรุงสุก

    - เปลี่ยนประเภทของปลาไปเรื่อยๆ ลดปัญหาการปนเปื้อน

    - บริโภคร่วมกับอาหารอื่นๆ ให้ครบทุกชนิด คือ อาหารหลัก 5 หมู่

    ขอบคุณ finuly

    Source(s): .........ขอขอบพระคุณ............ http://www.tlcthai.com/women/18708/
Still have questions? Get your answers by asking now.