Yahoo Answers is shutting down on May 4th, 2021 (Eastern Time) and beginning April 20th, 2021 (Eastern Time) the Yahoo Answers website will be in read-only mode. There will be no changes to other Yahoo properties or services, or your Yahoo account. You can find more information about the Yahoo Answers shutdown and how to download your data on this help page.

สาร Sodium Fluoride มีผลต่อสุขภาพอย่างไร?

ในยาสีฟันบางยี่ห้อที่จำหน่ายในประเทศไทย ถ้าคุณลองอ่านฉลากบนหลอดยาสีฟันจะมีคำเตือนว่า

- มีสาร Sodium Fluoride

- เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ควรใช้ยาสีฟันปริมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว และมีผู้ใหญ่ดูแลขณะแปรงฟัน ในกรณีที่เด็กได้รับสารฟลูออไรด์จากแหล่งอื่นด้วย ให้ปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์

ในขณะที่ยาสีฟันที่ผลิตในสหรัฐฯก็มีคำเตือนลักษณะนี้้เช่นกัน

- Keep out of the reach of children under 6 years of age.

- If you accidentally swallow more than used for bushing, seek professional assistance or contact a Poison Control Center immediately.

- As with other toothpaste, if irritation occurs discontinue use.

ผมก็เลยเริ่มสงสัยว่าโซเดียมฟลูออไรด์มันมีอันตรายและจะส่งผลเสียต่อสุขภาพให้กับเด็กได้ขนาดนี้จริงๆรึเปล่า เพราะไปค้นเจอข้อมูลทาง FDA (องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ) ก็ระบุว่า

"The FDA lists fluoride as an unapproved new drug and the EPA lists fluoride as a contaminant. Fluoride has never received "FDA Approval" and is considered to be a toxic waste product from the fertilizer industry."

คำถามก็คือ

- โซเดียมฟลูออไรด์มีผลต่อสุขภาพอย่างไร (ทั้งข้อดี/ข้อเสีย)

- เคยมีรายงานผู้ป่วยที่เกิดจากการได้รับโซเดียมฟลูออไรด์ในปริมาณมากบ้างหรือไม่

ขอความรู้/ข้อคิดเห็นหน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ :)

3 Answers

Rating
  • 1 decade ago
    Favorite Answer

    โซเดียมฟลูออไรด์(sodium fluoride naf)เป็นของแข็งไม่มีสีใช้สำหรับเป็นแหล่งของฟลูออไรด์ซึ่งมีราคาถูกและดูดความชื้นน้อยกว่าโพแทสเซียมฟลูออไรด์ มีความหนาแน่น2.558g/cm3 มีจุดหลอมเหลวที่993c มีจุดเดือดที่1,700c สามารถละลายได้ในน้ำ25c ฟลูออไรด์สามารถพบได้โดยทั่วไปในธรรมชาติ มีอยู่ในพืชทุกชนิด สัตว์ น้ำ และดิน มีมากสุดในอาหารทะเล

    ข้อดีของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพ มีส่วนช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง ทำให้ฟันทนต่อการผุมากขึ้น และยังช่วยป้องกันโรคกระดุกพรุน อีกทั้งยังอาจป้องกันโรคปริทันต์ได้อีกด้วย

    ในส่วนของข้อเสีย หากได้รับฟลูออไรด์มากเกินควรอาจทำให้ฟันเกิดลายจุดและหากได้รับมากเกินกว่า2-8ppm อาจทำให้เกิดอาการเป็นพิษ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

    ข้อสังเกตุ หากขาดฟลูออไรด์ ก็จะทำให้เกิดฟันเป็นลายจุด และกระดูกเปราะง่ายเช่นกัน

    รายงานผู้ป่วยที่เกิดจากการได้รับโซเดียมฟลูออไรด์ในต่างประเทศ"สำหรับผม"ยังค้นไม่พบ พบเพียงแต่ข้อถกเถียงและข้อสันนิษฐาน สำหรับในประเทศไทยเคยมีการสอบสวน การให้เด็กอมฟลูออไรด์ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคใต้ ซึ่งส่งผลให้เด็กนักเรียนจำนวนถึง62รายเกิดอาการเป็นพิษ มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ปวดหัว ชาในปาก ท้องเสีย ซึ่งผลการสอบสวนสรุปสาเหตุดังกล่าวเกิดจากการผสมฟลูออไรด์ผิดวิธีเท่านั้น

    ข้อคิดเห็น การได้ฟลูออไรด์จากอาหารในธรรมชาติสำหรับผมนั้นถือว่าเพียงพอต่อร่างกายที่จะใช้ประโยชน์แล้ว และยาสีฟันในประเทศไทยก็มีทั้งที่ผสมฟลูออไรด์และไม่ผสม ถึงอยากใช้แบบผสมปริมาณฟลูออไรด์ก็ไม่มากพอที่จะเป็นอันตราย ข้อคิดเห็นอีกข้อ อาหารไม่ใช่ยารักษาโรค อย่าตื่นตามโฆษณาจนเกินควรจนต้องเสียเงินเกินความจำเป็นเพื่อเสาะหาฟลูออไรด์จากยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากครับ

  • 1 decade ago

    ฟลูออไรด์เป็นธาตุที่จำเป็น พบเป็นส่วนใหญ่ในกระดูก และเคลือบฟัน ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง และทำให้ฟันทนต่อการผุมากขึ้น ฟลูออไรด์อาจช่วยป้องกันโรคปริทันต์ด้วย และป้องกันโรคกระดูกพรุน ฟลูออไรด์พบในธรรมชาติในรูปของแคลเซียมคลอไรด์ มีอยู่ในพืชทุกชนิด สัตว์ น้ำ และ ดิน อาจเติมลงในน้ำดื่มในรูปของโซเดียมฟลูออไรด์ในส่วนต่างๆของโลกเป็นเวลานานมาแล้ว แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าถ้าใช้ไปมากๆ จะเป็นอันตรายทำให้เกิดโรคฟลูออโรซิส ซึ่งมีลักษณะของอาการฟันเป็นจุดๆ เกิดขึ้นได้ เมื่อกินฟลูออไรด์เข้าไปมาก

    มาตรฐานกำหนด

    เด็กทารก 0.1 - 1.0 มก.

    เด็กโต 0.5 - 2.5 มก.

    ผู้ใหญ่ 1.5 - 4.0 มก.

    การขาดธาตุฟลูออไรด์

    1. ทำให้ฟันผุ

    2. โรคกระดูกพรุน

    อาการเป็นพิษ

    1. ฟันเป็นลายจุดๆ และกระดูกเปราะง่าย

    2. ทำให้มีการเกิดหินปูนขึ้นในเนื้อเยื่อ การเจริญเติบโตไม่ดีพอ

    แหล่งอาหารตามธรรมชาติ

    1. ข้าวต่างๆ

    2. ผลไม้ เช่น แอปเปิล องุ่น ลูกแพร์ กล้วย และเชอร์รี่

    3. ผักต่างๆ เช่น หัวแครอท กระเทียม หัวบีท ผักใบเขียว กระจับ ถั่ว ข้าวโพด หัวไชเท้า มะเขือ หัวหอม มันฝรั่ง

    4. เนย เนยแข็ง เนยเหลว ไข่

    5. เมล็ดทานตะวัน

    6. อื่นๆ เช่น อาหารทะเล ถั่วเหลือง ปลา น้ำทะเล น้ำกระด้าง น้ำผึ้ง ชาดำ

  • 1 decade ago

    สรุปหน่อยได้ไหมครับ

Still have questions? Get your answers by asking now.